ร้านอะไรเอ่ย? ขี่รถยนต์ไปเอารูปได้โดยไม่ต้องลงรถ. : ประวัติร้าน Fotomat ร้านอัดรูปขวัญใจขาวอเมริกามานาน ด้วยความเรียบง่ายและสะดวกสบาย
ก่อนที่จะมีสมารท์โฟนที่สามารถถ่ายรูปสวยๆ เหมือนกล้องราคาแพง ก่อนที่จะมีกล้องดิจิตอลที่สามารถเก็บรูปได้สบาย การที่จะได้รูปถ่ายแห่งความทรงจำเก็บไว้ดู อาจจะยุ่งยากไปนิดนึง ทั้งต้องใช้กล้องและฟิลม์ พอถ่ายเสร็จก็ต้องไปร้านอัดรูปเพื่อให้ทางร้านจัดการนำรูปออกมาจากฟิลม์ ถึงแม้ว่าจะยุ่งยากแต่อย่างน้อยก็ได้รูปถ่ายแห่งความทรงจำ
ในช่วงยุคสมัยที่กล้องฟิลม์กำลังดังระเบิด ร้านอัดรูปก็กำเนิดขึ้นมาอย่างกับเห็ด และความสะดวกสบายและเร็วของบริการ Drive-Thru ที่หลายธุรกิจกำลังใช้อย่างร้านอาหาร กล่องจดหมาย และธนาคาร คงจะเป็นเรื่องเมื่อนำร้านอัดรูปมาผสมผสานกันกับระบบ Drive-Thru
แต่กลับมีบริษัทนึงที่ใจกล้ามาก ผสมร้านอัดรูปกับบริการ Drive-Thru ให้กลายเป็นธุรกิจชั้นนำในยุคที่กล้องฟิลม์กำลังโด่งดัง นามนั้นคือ Fotomat
Fotomat เป็นเครือข่ายร้านค้าปลีกในอเมริกาที่มีซุ้ม Drive-Thru สำหรับอัดรูปแบบรวดเร็วไม่ต้องลงรถ ก่อตั้งโดย เพรสตั้น ฟลีท ในปี ค.ศ. 1965 ณ เมือง San Diego, California, โดยมีสาขาแรกที่เมือง Point Loma, California
โดยร้าน Fotamat นั้นมักตั้งอยู่ในที่จอดรถข้าง Supermarket ใช้พื้นที่เล็กๆ ในที่จอดรถเพื่อให้รถสามารถขับเข้ามาแล้วนำฟิล์มมาอัดรูปหรือมาเอารูป และยังมีมินิแล็บที่สารถอัดรูปได้เร็วถึง 1 ชั่วโมง นอกจากรับบริการอัดรูปแล้ว Fotomat ยังขายฟิลม์ของโกดักและของ Fotomat เอง และยังให้เช่าหนังในราคาที่ถูกกว่าร้านอื่นๆ โดยเพียงขับรถเข้ามาที่ร้านแล้วเลือกหนังที่ต้องการดู และวันรุ่งขึ้นก็สามารถขับรถมาเอาได้ โดยตัวหนังสามารถดูได้ถึง 5 วัน ในราคาเพียง $12 ต่อเรี่อง
ในปี ค.ศ. 1986 บริษัท Konishiroku Photo Industry หรือ Konica ได้ซื้อตัวบริษัท Fotomat และหลังจากที่กล้องดิจิตอลได้เข้ามาในตลาด Fotomat จึงเปลี่ยนการตลาดมาเป็นออนไลน์ โดยการย้ายบริการอัดรูปไปอยู่ในเว็บไซต์ Fotomat.com ที่ผู้ใช้สามารถตกแต่งและจัดรูปได้ในเว็บไชต์ จนกระทั่ง Konica ขายบริษัท Fotomat ให้บริษัท Viewpoint ในปี ค.ศ. 2002.
ปัจจุบันนั้น ร้านของ Fotomat ยังมีอยู่ แต่บางสาขาได้ถูกเปลี่ยนเป็นร้านกาแฟขนาดเล็กไปแล้ว
ถึงแม้ว่ากล้องดิจิตอลจะมาทดแทนกล้องฟิลม์ไป แต่หลากหลายความทรงจำที่ถูกบันทึกไว้แล้วนั้น ส่วนนึงอาจจะมาจากร้านเล็กร้านนึง ที่ผสมผสานสองอย่างไว้ และในตอนนั้น Fotomat เป็นเทคโนโลยีขวัญใจคนยุคนั้นที่ทุกคนชอบมากๆ
เครดิตภาพ : www.thefotomat.com