เครื่องพิมพ์ดีด IBM Selectric : เมื่อกระแสเครื่องพิมพ์ดีดกำลังระเบิด จึงถือกำเนิดเครื่องพิมพ์ดีดที่ผสมผสานเทคโนโลยีสุดแปลกแต่ใช้งานได้
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า "เครื่องพิมพ์ดีด" แต่ยังไม่เคยนั่งลงแล้วพิมพ์เสียที, เป็นเพราะว่าเครื่องพิมพ์ดีดกลายเป็นสมบัติไปแล้ว, ด้วยกาลเวลาที่ส่งเครื่องพิมพ์ดีดให้หายจากไป, จึงกลายเป็นสมบัติอีกหนึ่งชิ้นที่หาตัวสภาพดียากมาก.
ย้อนกลับไปสมัยที่เครื่องพิมพ์ดีดกำลังได้รับความนิยม, เครื่องพิมพ์ดีดคือสิ่งเดียวที่สามารถเขียนคำต่างๆ ลงบนกระดาษได้เร็วที่สุด, และยังมีหลากหลายขนาดให้เลือกตั้งแต่ขนาดเล็กยันใหญ่, และยังมีผู้ผลิตหลากหลายที่มอบความแตกต่างของเครื่องพิมพ์ดีดแต่ละรุ่นเช่น Olivetti, Smith Corona, Royal, Oliver, และอื่นๆ อีกมากมายที่คอยส่งลงตลาด.
หลังจากที่ทำงานและพัฒนาคอมพิวเตอร์มานาน, ไอบีเอ็มเริ่มเห็นโอกาสกำไรทองจากเครื่องพิมพ์ดีดที่หลายบริษัทส่งลงตลาด, จึงเลยคิดค้นเครื่องพิมพ์ดีดที่แปลกแหวกแนวกว่าบริษัทอื่นๆ และในขนาดเดียวกันใช้งานได้ง่ายและไม่จุกจิก, ไอบีเอ็มจึงสร้างหนึ่งในผลงานที่เด็ดที่สุดของไอบีเอ็มเฉพาะ IBM Selectric.
IBM Selectric 1 เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรกออกวางขายในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1961, ออกแบบโดย Eliot Noyes นักออกแบบที่เคยออกแบบหลาย Project ให้กับ IBM, และส่ง Selectric 2 และ 3 ในปี ค.ศ. 1971 และ ค.ศ. 1980.
โดยปกตินั้น, เครื่องพิมพ์ดีดจะใช้ระบบคานกระแทกบนผ้าคาร์บอนทับลงบนกระดาษอีกที่หนึ่ง, แต่สำหรับ IBM Selectric แล้วนั้น, ใช้แผงตัวอักษรกลมที่มีตัวอักษรวางอยู่รอบๆ ตัวลูกกลมนี้เรียกว่า Typeball (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลูก Golf) ซึ่งสามารถเปลี่ยนนรูปแบบตัวอักษรได้โดยการหยิบออกแล้วใส่ใหม่, โดยหลักการทำงานนั้นคือ, เมื่อเครื่องพิมพ์ได้รับคำสั่งจากการกดแป้น, ตัวเครื่องกลด้านในเครื่องจะทำการหมุนตัวลูกกลมเพื่อหาตัวอักษรที่ถูกสั่งและทำการโยกตัวลูกกลมเพื่อส่งตัวอักษรที่ถูกสั่งมาลงบนผ้าคาร์บอนและกระดาษ.
ด้วยความซับซ้อนที่สามารถจัดการเรื่องการพิมพ์ได้ง่าย, และความสามารถในการเปลี่ยนฟอนต์ได้ง่ายดาย, IBM Selectric กลายเป็นเครื่องพิมพ์ดีดพันธุ์ใหม่, ที่มาแรงเดือดในยุคนั้น, และนอกจากนั้นยังแถมที่เก็บข้อมูลระบบแผ่นแม่เหล็กให้ซื้ออีกด้วย, แต่ด้วยความร้อนแรงที่มหาศาล, ในปี ค.ศ. 1984 มีเคสของเครื่อง IBM Selectric ติดเครื่องดักฟังไว้ในตัวแป้นพิมพ์, จึงทำให้เครื่องถูกยกเลิกขาย.
ถึงแม้ว่าเครื่องพิมพ์ดีดจะกลายเป็นสมบัติหายากก็ตาม, IBM ก็ได้ประทับตราความสำเร็จในตลาดเครื่องพิมพ์ดีด, ด้วยลูกกลมที่สามารถคว้าใจลูกค้าอยู่หมัด, นี่ละครับความเก่งของ IBM.
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://en.m.wikipedia.org/wiki/IBM_Selectric_typewriter
ภาพประกอบจาก :
https://www.ibm.com/