สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน เราเตอร์ในยุคสมัยนี้ ที่การปรับแต่งให้พร้อมใช้งานนั้นเรียกได้ว่าง่ายและสะดวกมาก ซึ่งแน่นอนว่าระบบมันยังไม่ได้ถูกปรับแต่ง เพื่อให้ระบบเครือข่ายไร้สายนั้นออกมาได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในยุคของ Wireless AX ในการปรับแต่เพื่อช่วยเพิ่มให้การรับส่งข้อมูล ระหว่างและลูกข่าย นั้นเป็นจุดที่มีความสำคัญมาก ถ้าเทียบกับยุคของ Wireless AC ที่เทคโนโยีนั้นมาตรฐานในการเชื่อมต่อที่ยังห่างชัด รวมไปถึงความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ยังไม่ได้วิ่งระดับ Gigabit กันเหมือนทุกวันนี้ ที่สำคัญความใจร้อนของผู้ใช้งานที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง พร้อมกับความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในรูปแบบไร้สาย
เราเตอร์ ASUS RT-AX59X ซึ่งก็เป็นเราเตอร์ที่มันเหนือกว่าระดับเรือธง ตัวที่เราจะมาใช้ในการทดสอบวันนี้ เพราะมันคือเราเตอร์ที่ผมมีอยู่ในมือ
สำหรับทางค่าย TP-Link กันบ้าง แน่นอนว่าการนำแนวทางการปรับแต่งวันนี้ ก็สามารถนำไปใช้ปรับแต่งได้ครับ
ค่ายน้องใหม่อย่าง Huawei ที่ออกเราเตอร์มาตรฐาน WiFi 6 ในราคาที่ไม่สูงมากนัก
มาถึงเราเตอร์จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ที่ทาง T3 Technology ร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา ก็สามารถใช้แนวทางนี้มาปรับใช้ได้ครับ
ถ้าเราพูดถึงความง่ายในการเซ็ตอัพ ที่สามารถทำตามขั้นตอนไม่กี่ขั้น ก็สามารถเซ็ตอัพให้พร้อมใช้งานได้ แต่มันยังไม่ใช่จุดที่จะทำให้ระบบนั้นสามารถเค้นประสิทธิภาพในการใช้งานสูงที่สุดได้
เราจะมาดูกับการตั้งค่า Wireless ที่เราควรมาส่องดู Channel Bandwidth ที่เปรียบเสมือนความกว้างของเลนถนน ค่าสูงสุดที่ WIFI 6 เราเตอร์ในย่ายความถี่ 5 Ghz สามารถตั้งค่าได้คือ 160 Mhz ก็ปรับมันที่ 160 Mhz ส่วนทางทางฝั่ง 2.4Ghz สูงสุดอยู่ที่ 40 Mhz โดยส่วนมากมันจะตั้งไว้ที่ 40 Mhz อยู่แล้ว
เป็นเรื่องที่น่าตลกอยู่อย่างนึง ซึ่ง WIFI 6 เราเตอร์บางค่าย อาจยังไม่ได้เปิดโหมดการทำงานของ 802.11ax/Wi-Fi 6 ส่วนใหญ่หน้าการเซ็ตอัพเบื้องต้นจะต้องกดยืนยัน เพราะว่าทางผู้ผลิตออกแบบเผื่อไว้สำหรับลูกข่ายที่ไม่รองรับหรือไม่เข้ากับ 802.11ax/Wi-Fi 6 แต่จากที่ใช้มายังไม่เคยเจอปัญหาอะไร
มาถึงอีกหนึ่งจุดที่สำคัญของ WIFI 6 กับฟีเจอร์ OFDMA และ MU-MIMO ที่เรียกได้ว่าสองฟีเจอร์นี้ เป็นอีกจุดสำคัญในการใช้งานลูกข่ายไร้สายจำนวนมาก ให้มีความไหลลื่นมากขึ้น เพราะเราเตอร์นั้นจะสามารถรับส่งข้อมูลมากว่าสองลูกข่ายได้พร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับประสิทธิภาพ แต่จะเกี่ยวกับการใช้งาน
มาถึงกับระดับความแรงของสัญญาณที่สามารถปรับระดับได้ตามความต้องการ อันนี้โดยส่วนตัวผมนะ ถ้าเกิดใช้ในคอนโดหรืออพาร์ทเม้นท์ ไม่ได้จำเป็ต้องเปิดแรงที่สุด บางคนอาจมีอาการปวดหัวได้เมื่อต้องนั่งอยู่ห้องเดียวกับเราเตอร์ที่เปิดสัญญาณแรงๆ ขอย้ำนะครับ ไม่ได้เกิดกับทุกคน
ในยุคที่บ้านไหน ก็มีไวไฟเราเตอร์กันหมด อีกสิ่งสำคัญคือการปรับช่องสัญญาณให้มันไม่ชนกันหรือทับซ้อนน้อยที่สุด ซึ่งการใช้ช่องสัญญาณแต่ละช่อง ที่มันมีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานได้พอสมควร อันนี้ก็แล้วแต่พื้นที่แล้วแต่สิ่งกีดขวาง ไม่มีข้อสรุปตายตัว
เครื่องมือที่เราจะมาใช้หาการทับซ้อนของสัญญาณ ก็หยิบสมาร์ทโฟนมาติดตั้งแอป WiFi Analyzer ซึ่งก็มีหลายตัว ทางด้านขวาคือความถี่ 2.4 Ghz ที่เลี่ยงได้ยากเพราะข้อจำกัดของช่องสัญญาณ ลองหาจุดที่ทันทับซ้อนกับชาวบ้านน้อยที่สุด มาถึงทางด้านขวาที่เป็นย่านความถี่ 5 Ghz ที่การใช้ Bandwidth 160 Mhz ในยุคของ WiFi 6 นั้นจะเป็นการปล่อย Bandwidth 80 Mhz พร้อมกันสองช่อง ที่ก็เข้ามาตรวจสอบดูว่าของเราไปชนหรือทับซ้อนกับชาวบ้านชาวช่องเค้ายังไงบ้าง เลือกที่ชนกันน้อยที่สุด หรือ ถ้าต้องชนก็ให้ทับซ้อนกันน้อยที่สุด
มาถึงของเราเตอร์หัวเว่ย(แบบขายแยก) หลังจากเซ็ตอัพให้พร้อมใช้งาน Bandwidth 160 Mhz ก็ต้องมาเปิดภายหลัง
เราเตอร์ Wi-Fi 6 ของ T3 Technology ร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา Bandwidth 160 Mhz และ OFDMA ก็ต้องมาเปิดเองด้วย ส่วน MU-MIMO มันเปิดมาเรียบร้อยตามค่ามาตรฐาน
มาถึงการทดสอบแรกกัน ที่จะเป็น Channel Bandwidth 80 Mhz และ OFDMA ในขา Download เท่านั้น ส่วน MU-MIMO และ OFDMA ในขา Upload จะไม่ถูกเปิดตามค่ามาตรฐาน โดยจะใช้ลูกข่ายสามตัว วางบริเวณห้องเดียวกันกับตัวเราเตอร์ ASUS RT-AX59X 1. ROG Notebook Gaming รุ่นเก่าที่อัพเกรดไวไฟเรียบร้อย (WIFI6) 2. iPhone SE 2020 (WIFI6) และ 3 Mi8se (WIFI5) แพ็คเกจอินเตอร์เน็ตที่ใช้ 1000/300 โดยผลการทดสอบออกมาดังนี้
1. ROG Gaming Notebook = Download 856.9 Mbps / Upload : 316.3 / Lantency 6.375 ms
2. iPhone SE 2020 = Download 776 Mbps / Upload : 306 / Lantency 11 ms
2. Mi8se = Download 637.74 Mbps / Upload : 241.73 / Lantency 9 ms
มาถึงการทดสอบที่สอง Channel Bandwidth 160 Mhz ,เปิด MU-MIMO ,เปิด OFDMA ในขา Download และ Upload
1. ROG Gaming Notebook = Download 862.3 Mbps / Upload : 314.4 / Lantency 4.75 ms
2. iPhone SE 2020 = Download 800 Mbps / Upload : 312 / Lantency 10 ms
2. Mi8se = Download 661.90 Mbps / Upload : 256.83 / Lantency 8 ms
โดยภาพรวมสำหรับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแพ็คเกจ 1Gbps / 300 Mbps ประสิทธิภาพดีขึ้น ขึ้นกับมุมมอง ที่คิดว่าความแตกต่างกันมากหรือน้อย
Conclusion
วันนี้ก็คงจะได้เห็นแนวทางในการปรับแต่งการทำงานของเราเตอร์ Wi-Fi 6 เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานได้สูงที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแน่นอนว่าความสะดวกสบายที่เราคงจะเห็นกันว่าการเซ็ตอัพเราเตอร์สมัยนี้ง่ายและสะดวกมาก แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพและการใช้งานที่ดีนั้นคงเป็นหน้าที่ของผู้ใช้งานนั้นต้องมาปรับแต่งกันตามการใช้งานของแต่ละคน ซึ่งหลายคนนั้นจะมองว่าอินเตอร์เน็ตนั้นมันมีความเร็วแค่ระดับ Gigabit เท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วมาตรฐาน Wi-Fi 6 นั้นมันมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เหนือว่า Gigabit กันแล้วนะครับ ซึ่งทางเราก็เคยได้นำเสนอไป ก็สามารถไปย้อนอ่านดูได้จากที่นี่ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ