สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากที่ทาง AMD ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen ในยุคที่สาม มาแล้วประมาณเกือบ 1 เดือน ด้วยการใช้พื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 2 โดยใช้ขนาดขบวนการผลิต 7nm บนแพ็คเกจ AM4 ที่เหล่าบรรดาสาวกและผู้ที่สนใจ AMD นั้นได้รอคอยกันมาอย่างยาวนานนั้นเอง ที่วันนั้นเราจะมารีวิวอีกหนึ่งโมเดลที่น่าสนใจกับ AMD Ryzen 3000 หรือ 3nd Gen Ryzen ซึ่งวันนี้ผมได้รับ AMD Ryzen 7 3700X ที่เป็นโมเดลนึง ที่มาพร้อมกับความคุ้มค่าของประสิทธิภาพ พร้อมทั้งในราคาค่าตัวที่ไม่สูงมากนักนั้นเอง ที่ยังสามารถตอบโจทย์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงทั้งการเล่นเกม การทำงาน และ งานสร้างสรรค์ต่างๆได้อย่างสบาย ด้วยแกนประมวลผล 8 คอร์ 16 เทรด บนความเร็วสัญญาณนาฬิกา 3.6 Ghz ยังสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงสุดที่ 4.4 Ghz กับการปรับแต่งมาตรฐาน พร้อมกับแคชรวม 36MB ที่มีค่า TDP 65 Watt
ความคุ้มค่าในการใช้พลังงาน Ryzen 3 ที่แน่นอนว่าสามารถทำออกมาได้ดีกว่า Ryzen 2 ทั้งด้านประสิทธิภาพต่อวัตต์ และ การใช้พลังงานโดยรวมของซีพียู
Ryzen 7 ในโมเดล 3700X นั้นยังไม่ใช่โมเดลสูงสุดของ Ryzen 7
ในยุค AMD Ryzen 3 ที่สามารถโอเวอร์คล็อกความเร็วเมโมรีไปได้สูงมากขึ้น ระดับ 4000 Mhz กับ AMD นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างไรกันแล้ว แต่ในจุด 3600 Mhz เป็นความคุ้มค่าที่สุด แต่ในแง่ประสิทธิภาพที่ดีแบบไม่ต้องลงทุนมากคือ 3733 Mhz นั้นเอง
AMD Ryzen 7 3700X นั้นจะมาพร้อมกับชุดระบายความร้อน AMD Wraith Prism Cooler หน้าตาจะดูเหมือนๆเดิม แต่ปีนี้รองรับการปรับแสงสีร่วมกับ RAZER CHROMA
Precision Boost 2 ที่ช่วยยกประสิทธิภาพของ AMD Ryzen 3000 ให้สูงมากขึ้น โดยการเพิ่มความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการระบายความร้อน ซึ่งแน่นอนการใช้งานจริงนอกจากชุดระบายความร้อน ก็ยังต้องมาใส่ใจกับการระบายอากาศภายในเคสอีกด้วยครับ
Package & Bundled
แพคเกจของ AMD Ryzen 3000 Series โดยภาพรวมจะเป็นธีมสีเทาและส้ม เช่นเดียวกับเดียวกับ AMD Ryzen ยุคที่ผ่านมา แต่จะเปลี่ยนรูปแบบของกล่องจะเป็นเหมือน Ryzen ยุคก่อนหน้านี้ ในชุดจะมีคู่มือ ,ชุดระบายความร้อน และ สติกเกอร์ติดหน้าเครื่อง
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่จะเป็น AMD แบบดั่งเดิมมาตั้งแต่ในยุค AMD Athlon 64 ก็เรียกได้ว่าเป็นสิบปีก็ยังคงเดิม เพิ่มเติมมาคือจำนวนขาตามแต่ละซ็อกเก็ต ที่จะเป็นกระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างๆมาตามแบบฉบับของ AMD เรียกได้ว่าซีพียูตัวเดียวผ่านมา 3 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา ,ไต้หวัน และ สุดท้ายประกอบที่จีน
แพ็คเกจ AM4 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 300 Series , 400 Series และ 500 Series
ชุดระบายความร้อน AMD Wraith Prism กับชุดระบายความร้อนขนาดใหญ่ ที่มาพร้อมกับครีบอลูมิเนียม ผสานกับหน้าสัมผัสทองแดง และ ท่อฮีทไปท์ทองแดงแบบสัมผัสตรงกับกระดองซีพียู การยึดเป็นขาเกี่ยวแบบดั่งเดิมสไตล์ AMD
ในจุดนี้จะมีสาย USB และ RGB สำหรับการเชื่อมต่อลงเมนบอร์ด โดยทางด้านขวาในภาพจะเห็นสวิทซ์เลื่อนปรับระดับความแรงพัดลม
การเชื่อมต่อของพัดลมจะเป็น 4 Pin PWM พร้อมกับหุ้มสายถักมาอย่างสวยงาม
ฐานหน้าสัมผัสที่มีซิลิโคนมาให้พร้อมใช้งาน โดยในส่วนสาย USB และ RGB จะใส่มาในพลาสติกกันรอยหน้าสัมผัส
ฐานหน้าสัมผัสในส่วนทองแดง และ ท่อฮีทไปท์ทองแดง นั้นจะสัมผัสตรงกับกระดองของซีพียู เพื่อช่วยกันถ่ายเทคความร้อนในการระบายออกไปของครีบอลูมิเนียม
ในส่วนของ AMD Ryzen 7 3700X จะใช้รหัสการพัฒนา Matisse
8 Core 16 Threads ใน AMD Ryzen 7 3700X ที่จะร่วมด้วยช่วยกันประมวลผลการใช้งานด้านต่างๆ
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ROG CrossHair VIII HERO
- VGA : ROG STRIX Radeon RX580 8GB
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 8 GB + G.Skill Trident-Z 8GB
- CPU Cooler : Stock Cooler
- SSD : Silicon Power A56 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1903)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen High Performance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
***** ใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนติดไว้ที่กระดองขณะทำการทดสอบ ไม่ได้ใช้ซอร์ฟแวร์วัดความร้อนของซีพียู *****
Conclusion
AMD Ryzen 7 3700X ก็เป็นอีกหนึ่งความคุ้มค่าใน 3nd Gen Ryzen แพ็คเกจ AM4 ที่ลงตัวในทั้งทางด้านประสิทธิภาพ ,เงินที่จ่ายไป และ การใช้พลังงาน อีกทั้งยังรองรับการโอเวอร์คล็อกเพื่อเค้นประสิทธิภาพเพิ่มเติมกับโมเดล "X" อีกด้วย AMD Ryzen 7 3700X ที่การเป็นซีพียู 8 คอร์ 16 เทรด พร้อมกับการบูสความเร็วได้สูงสุด 4.4 Ghz ที่ทำให้ AMD Ryzen 7 3700X สามารถตอบสนองกับการใช้งานได้ดีกับการใช้งานทั่วไป ,การเล่นเกม และ การทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพในราคาที่สูงสูงเกินไปมากนัก ในแง่มุมของการโอเวอร์คล็อกก็พูดง่ายที่สุด จับลากมันให้สูงกว่าความเร็วบูสก็เรียบร้อยแล้ว ส่วนใครที่ยังไม่มีแผนจะใช้งานการ์ดจอ หรือ SSD NVME ที่เป็ยมาตรฐานการเชื่อมต่อ PCI-e 4.0 ก็ยังใช้งานได้ดีกับเมนบอร์ดชิพ AMD 300 หรือ 400 Series ที่เมื่ออัพเดทไบออสแล้วก็ยังสามารถใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาอะไร ก็เป็นอีกสิ่งหนึงที่ตอกย้ำความคุ้มค่าในการอัพเกรดมาใช้งาน 3nd Gen Ryzen อีกสิ่งนึงที่อยากจะย้ำไว้ ติดตั้ง Windows 10 เวอร์ชั่น 1903 แบบเพียวๆ ติดตั้งใหม่ไม่ได้อัพเดทจากเวอร์ชั่นเก่า จะชวยทำให้การใช้งานสมบูรณ์แบบมากขึ้น ได้ดีมากขึ้นกว่าการทดสอบครั้งนี้ สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : AMD Far East | Thailand