สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน สมาร์ทโฟนแบรนด์ลูกจาก Xiaomi อย่าง POCO ที่เราคงเห็นข่าวในเรื่องการแยกพัฒนากันแล้ว แต่หลังจากที่เราได้เห็นโปรดัสก์จาก Mi ,Redmi และ POCO เราก็คงจะเห็นกับการดีไซน์ที่ใช้ Ctrl+C ,Ctrl+X และ Ctrl+V พร้อมกับการปรับนิดๆหน่อยๆ แต่ในข้อดีของผู้บริโภคที่จะสามารถสัมผัสสมาร์ทโฟนในราคาที่คุ้มค่า พร้อมกับมีทางเลือกของระดับเริ่มต้นที่ราคาจับต้องได้ง่าย ในการใช้งานที่ดีมากขึ้น ที่วันนี้เราจะมารีวิว POCO F3 สมาร์ทโฟนระดับกลางที่ท้าชนระดับเรือธงในด้านการใช้งาน ซึ่งตัวนี้จะใช้ SoC Snapdragon 870 ที่เป็นตัวอัพเกรดจาก 865+ ในระดับเรือธงเมื่อยุคทื่ผ่านมา โดยเทคโนโลยี 5G ที่ใส่เข้ามาจะเป็นการใช้ Modem แยก Qualcomm X55 แต่ด้วยความเป็น POCO แล้วจะมีการใส่ฟีเจอร์การใช้งานทำให้ POCO F3 มีการใช้งานที่สามารถทัดเทียบกับสมาร์ทโฟนในระดับเรือธงได้ดีในระดับราคาที่วางแผง ด้วยจุดเด่นกับหน้าจอแสดงผล AMOLED พร้อมกับกล้องหลังสามตัว ความละเอียดสูงสุด 48 Mp จะมีทางเลือกของรุ่น Ram 6 GB + Rom 128 GB และ Ram 8 GB + ROM 256 GB ในราคาเริ่มต้น 9999 บาท
Design & Detail
การออกแบบดีไซน์ถ้าเรามองแต่ด้านหน้าคงยากที่จะดูออกว่ามันคือรุ่นอะไร ด้วยรูปทรงของหน้าจอ 20:9 ช่วยทำให้เครื่องหน้าจอขนาด 6.67 นิ้ว แต่ยังจับมือเดียวได้ถนัด ถ้าใครนิ้วโป้งยาวก็ยังพอใช้งานมือเดียวได้อยู่ โดยขนาดจะอยู่ที่ 163.7 x 76.4 x 7.8 มม. น้ำหนัก 196 กรัม ในยุคสมัยนี้ Xiaomi จะมีการติดฟิล์มกันรอยมาให้จากโรงงาน ตัดปัญหาเรื่องหาฟิล์มยาก แต่ถ้าใครอยากติดกระจกกันรอยเต็มหน้าจอแนะนำว่าซื้อเคสเพิ่มด้วยครับ เดี๋ยวฟิล์มจะลอยได้ เทคโนโลยีชาร์จไวแบบ 33 Watt มาตรฐาน Quick Charge 4.0+ แบต 4520 mAh หน้าจอแสดงผล AMOLED ขนาด 6.67 นิ้ว กระจกด้านหน้า Gorilla Glass 5 ที่เป็นขอบข้างโค้ง 2.5D แต่หน้าจอแสดงผลไม่โค้ง โดยใช้หน้าจอ AMOLED จาก Samsung E4 มีข้อดีในเรื่องการใช้พลังงานต่ำ ตามสเป็คความสว่าง 1300nits Refresh Rate 120 Hz และ Touch Sampling Rate 360 Hz ด้วยความละเอียด FHD+ ที่ 1080x2400 สัดส่วน 20:9 โดยจะมาพร้อมกับเทคโลโลยี HDR10+ การวางกล้องหน้าตามยุคสมัย 2021 ที่จะเจาะรูกล้องหน้า ลำโพงสนทนาต้องย้ายไปอยู่ขอบเครื่อง ที่น่าแปลกใจมันถูกใส NFC มาให้ด้วย ซึ่งในต่างประเทศได้ใช้ประโยชน์กันมาก ในบ้านเราผมยังไม่เคยใช้งานอะไรแบบต่างประเทศ นอกจากคัดลอกบัตร NFC ลองเล่นๆกันกับพรรคพวก แล้วเขียน Tag NFC กับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม
ด้านหลังที่เป็นกระจก Gorilla Glass 5 ด้วยความที่ใช้กระจก ผิวนั้นจะเป็นรอยนิ้วมือและโชว์ฝุ่นได้ง่าย ตัวเครื่องที่ผมได้รับมาทดสอบเป็นสี Night Black โดยจะมีทางเลือกของสีคือ Arctic White ในตลาดบ้านเรา จะมีการบ่งบอกชัดเจนว่ามันคือ POCO ที่รองรับเทคโนโลยี 5G ที่การออกแบบมีส่วนโค้งนั้นทำให้จับเครื่องได้ถนัดมากขึ้น การออกแบบเหมือนกับการดูมีส่วนผสมจาก Mi และ Redmi ส่วนที่เด่นที่สุดจะเป็นบริเวณของกล้อง ที่มีความดูอลังการมากขึ้น ซึ่งขอบมันจะยื่นๆมาหน่อย การใช้งานจริงในชีวิตประจำวันควรต้องใส่เคสป้องกันด้วย เดี๋ยวเลนส์กล้องจะกลับปักกิ่ง ในกล่องก็มีเคสใสมาให้ที่พอจะสามารถปกป้องเลนส์กล้องได้ แต่เคส After Maket ที่เท่าที่ผมนั่งส่องดูก็ออกแบบมาป้องกันเลนส์กล้องได้ดีขึ้น แต่ต้องแลกมาด้วยความหนาที่เพิ่มขึ้น
แกนกลางโครงบอดี้ที่จะใช้วัสดุอลูมิเนียม สีดำเงาๆเข้ากับฝาหลังของตัวเครื่อง ฝั่งด้านซ้ายจะไม่มีปุ่มกด มากันแบบเรียบๆ
ด้านซ้ายที่จะปุ่มพาวเวอร์ที่มีหน้าที่ในการสแกนลายนิ้วมือได้ พร้อมกับปุ่มเพิ่มและลดระดับเสียง มาตรฐานในการออกแบบของยุคนี้ โดยส่วนตัวชอบที่ปุ่มพาวเวอร์อยู่คนละฝั่งกับการปรับระดับเสียง เพราะปกติที่ใช้งานอยู่กดผิดประจำ
ด้านบนจะมีไมค์ตัดเสียงรบกวน อีกสิ่งเป็นจุดเด่นที่ผมชอบมาก คือ IR Blaster ใช้ควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เวลาตอนที่หลับไป ปกติผมก็หยิบสมาร์ทโฟนมาปิดทีวี หรือ ปรับความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
ในส่วนด้านล่างที่มีการเชื่อมต่อ USB Type-C พร้อมกับไมค์และลำโพง ถาดใส่ซิมการ์ดที่จะลงมาอยู่ด้านล่าง ถาดใส่ซิมรองรับแบบ Dual Nano Sim Card ที่ตัวถาดจะมียางกันน้ำ โดยทางด้านสเป็คเครื่องไม่ได้ระบุบมาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น แค่แจ้งว่ากันน้ำกระเด็นใส่ได้
กล้องมาเป็นแผงการออกแบบรูปทรง ชวนให้ผมนิดถึงกล้องถ่ายรูปแบบคอมแพ็คสมัยก่อน พร้อมกับทูโทนแฟลช ฟีเจอร์การถ่ายภาพครบเครื่องตามแบบฉบับของ POCO รองรับการถ่ายวีดีโอได้สูงสุดระดับ 4K@30p โดยกล้องหลัก Sony IMX582 Exmor RS 48 MP f/1.79 ,กล้องซูมหรือมาโคร Samsung ISOCELL S5K5E9 5 MP f/2.4 และ กล้องมุมกว้างพิเศษ Samsung Sony IMX355 8 MP f/2.2
กล้องที่จะเป็นการเจาะรูที่หน้าจอ ในการเจาะรูที่ดูไม่ได้ใหญ่มากเหมือนพวกโมเดลในยุค 2020 จะเป็นการใช้เซ็นเซอร์ Samsung ISOCELL S5K5E9 20 MP f/2.4 รองรับการถ่ายวีดีโอสูงสุด 1080p@60p ลำโพงตัวที่สองจะอยู่ที่ลำโพงหูฟัง
UI and Setting
Luancher ของ POCO ที่จะมีความแตกต่างจาก Launcher ของ Miui ในการใช้งานเล็กน้อย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นสามารถปรับแต่ง Ui ได้มากมายจาก Themes สำเร็จรูปหรือตามความต้องการ รองรับ Dark Mode ตามยุคสมัย การทัสหน้าจอที่ให้ความรู้สึกติดนิ้วหรือตามนิ้วที่สั่งดี ให้ความรู้สึกไหลลื่นดี ที่ในการแง่การใช้งานทั่วไปถือว่าดีครับ โดยส่วตัวชอบตรง App Draw ที่มีการจัดหมวดหมู่อีกด้วย ต้องแจ้งก่อนว่าในภาพตัวอย่าง Navigation bar ผมตั้งให้กลับข้างกัน เนื่องจากถนัดซ้ายและนิ้วโป้งสั้น เวลาจะ Back ย้อนกลับจะไม่ถนัด และ ผมได้ปรับธีมในเครื่องเป็น Dark Mode
ทางด้านของรอมที่จะเป็น Android 11 ครอบด้วย Miui เวอร์ชั่น 12 ที่อีกไม่นานก็จะได้ Miui 12.5
POCO Launcher ที่รองรับการปรับแต่งได้พอสมควร สามารถปรับแต่งให้ตรงกับความชอบของผู้ใช้งานได้
การปรับแต่งการทำงานของตัวเครื่อง ที่จะเป็นมาตรฐานของกลุ่มแบรนด์ Xiaomi ถ้าใครย้ายมาจากแบรนด์อื่นต้องทำความคุ้นชินกันเล็กน้อย
ข้อดีของหน้าจอ AMOLED ที่สามารถตั้งให้หน้าจอตั้งเปิดตลอดเวลาได้ มีการปรับโทนสี เปิดโหมดการอ่าน นอกจากนั้นยังมีระบบ Ai ที่จะเข้ามาช่วยประมวผลให้ภาพมีความไหลลื่นในการเคลื่อนไหว พร้อมกับแสงสีให้มีความสดจากเทคโนโลยี HDR ที่พลาดไม่ได้ Refresh Rate 120Hz
มาถึง Control Center แบบดั่งเดิม ที่จะรวบรวม Quick Setting และ การแจ้งเตือน เข้ามาอยู่ในการลากหน้าจอจากด้านบนลงมา
Quick Setting จะมีแทบบนสุด 5 คำสั่ง ลากลงมาอีกระดับ จะมี 12 คำสั่ง และ ลากลงมาสุดก็จะมีทั้งหมด ที่ผู้ใช้งานสามารถลากปรับตำแหน่งได้ตามความชอบและถนัด
มาถึง Control Center ที่จะเลือกใช้งานได้ทั้งแบบเก่า และ แบบใหม่ ที่จะแบ่งการลากลงมาจากฝั่งซ้ายที่เป็นการแจ้งเตือน และ ฝั่งขวาเป็นส่วนของ Quick Setting ก็สะดวกกับการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
ทางด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รองรับเทคโนโลยี 5G ที่ผมลอง AIS และ TRUE-H ใช้งานได้ครับ อีกทั้งยังรองรับ VoLTE และ Wi-Fi Calling ได้อีกด้วย
เครื่องศูนย์ไทยจะเป็น Rom Global ที่ Dial ,Contact และ SMS จะเป็นของ Google ถ้าชอบความเป็น Miui ต้องหารอม EEA มา Flash แต่ถ้าจะ Unlock เครื่อง ลงรอม EU จบๆ รอมอัพเดทไวกว่า Global
ประสิทธิภาพในการทดสอบ AnTuTu ที่จัดได้ว่าอยู่ระดับใช้งานได้ดี แรงไม่อายใคร เพราะคะแนนมันเป็นรองจาก Sanpdragon 888 อยู่ประมาณไม่เกินแสนคะแนน ประสิทธิภาพระดับเรือธงเมื่อยุคที่แล้วในระดับ Snapdrogon 865+ อีกสิ่งที่น่าสนใจกับสตอเรจ ที่ใช้ UFS 3.1 ผลการทดสอบที่ออกมาน่าประทับใจครับ แรงกว่า SSD ที่ผมใช้ในคอมพิวเตอร์อยู่หลายๆลูก
มาตรฐาน WiFi 6 เมื่อใช้งานกับ WiFi 6 Router ที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สายที่ความเร็วระดับ Gigabit ได้สบาย รวมไปถึงเทคโนโลยี 5G ที่ความแรงขึ้นกับพื้นที่ในการใช้งาน ในการทดสอบของผมเป็นพื้นที่ชานเมือง ถ้าเทียบกับพื้นที่เดียวกันที่ทดสอบกับเครื่องระบบ 4G ในผู้ให้บริการเดียวกัน วิ่งได้ประมาณ X-3X Mbps เท่านั้น
การใช้งาน
การปลดล็อกตัวเครื่อง ที่สามารถใช้ลายนิ้วมือด้านข้างเครื่อง ที่ความไวถือว่าทำออกมาใช้งานไม่มีปัญหาอะไร โดยปกติผมเป็นคนที่ลายนิ้วบางมาก ยิ่งช่วงไหนซ่อมรถหรือล้างมือบ่อยๆลายนิ้วแทบไม่เห็น เวลาเดินทางไปต่างประเทศจะมีปัญหามากเวลาสแกนลายนิ้วมือ มาถึงจุดหลักที่อยากจะพูดคือหน้าจอแสดงผลครับ ถึงแม้ตามสเป็คจะเป็นการใช้หน้าจอแสดงผล AMOLED ซึ่งเป็น Samsung E4 ที่ข้อดีของมันคือสีดำเป็นสีดำสนิทดี แต่ในเรื่องของความสว่างสูงสุด 1300 Nits ในการใช้งานพื้นที่แสงมากๆ เช่นกลางแดดมองยากมากครับ มาถึงในเรื่องของสีสันการให้รายละเอียดสีจากภาพที่มองเห็นนั้น ถ้าไม่เทียบกับหน้าจอ AMOLED เกรดที่ดีกว่า มองกันที่ POCO F3 เดี่ยวๆ มันก็สีสวยใช้ได้ครับ แต่ถ้าเอาไปเทียบกับสมาร์ทโฟนแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตหน้าจอในระดับใกล้เคียงกัน หรือ ราคาสูงกว่าเล็กน้อย POCO F3 ดูเหมือนสีจะจืดไปเลย ถึงจะเปิดใช้งานเทคโนโลยี HDR ก็ตาม
การใช้งานทางด้านความบันเทิง ด้วยขนาดจอ 6.67 นิ้ว แบบ AMOLED ที่เรียกได้ว่าเต็มตาสะใจในการดูหนังหรือดูคลิปวีดีโอต่างๆ คอนเทนต์จาก Netflix ที่รองรับความละเอียดระดับ HD และ เปิด HDR ที่ในการใช้งาน Netflix หรือ Youtube เราสามารถขยายหน้าจอไม่ให้เห็นขอบดำได้ แต่เรื่องที่รู้สึกขัดใจผมก็คือ HDR10+ ที่ไม่ได้รู้สึกตื่นตากับสีสันอะไรกับมันมาก จากที่ผมเล่น และ ลอง เครื่องรุ่นอื่นที่เป็นหน้าจอ HDR มันให้สีสันที่โหดกว่า POCO F3 แต่ถ้าใครเกิดมายังไม่เคยใช้สมาร์ทโฟนที่มีเทคโนโลยี HDR พอมาเจอ POCO F3 ก็พึงพอใจกับสีสันที่สดใสขึ้นมาได้ ส่วนกล้องหน้าที่เจาะหน้าจอ อาจให้ความรู้สึกขัดๆตาไปบ้าง ถ้าตั้งใจไปสังเกตุมองมัน ระบบเเสียงลำโพงสเตริโอ ในแบบ Hi-Res Audio ซึ่งความดังของเสียงที่ดี รายละเอียดเสียงสูง เสียงกลางจัดเจน แต่จะไปด้อยที่เสียงต่ำ ซึ่ง POCO F3 นั้นจะรองรับ Dolby Atmos ด้วย X-axis แกนสั่น ที่ทำให้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากเสียง และ Hi-Res Audio Wireless ซึ่งถ้าจะไปไฟว์กับระดับเรือธง ยังไงก็ขาดไม่ได้
การเล่นเกมที่ด้วยหัวใจหลัก Snapdragon 870 ที่ใช้กราฟฟิก Adreno 650 การเล่นเกมในยุค 2021 ถือว่าทำออกมาได้ดีไม่เป็นรองใคร ถ้าใครคิดมากว่ามันไม่ใช่ซีพียูในระดับเรือธง ท่องในใจมองราคาและเทียบประสิทธิภาพความแรงระดับเรือธงยุคที่แล้วอย่าง Snapdragon 865+ ที่การเล่นเกมให้ความไหนลื่นที่ดี ถ้ามองที่ราคาเครื่องจัดว่าเด็ดครับ พร้อมกับการเล่นเกมบนหน้าจอแสดงผลยุคใหม่สัดส่วน 20:9 ที่เล่นกันได้สะดวกดี ยิ่งการใช้หน้าจอแสดงผลที่มี Touch Sampling rate 360Hz ความคุมได้แม่นยำ ที่สำคัญมี GAME TURBO ที่ช่วยจัดการให้เล่นเกมได้ดีที่สุดไร้การรบกวน และ เพิ่มเติมการใช้งานระหว่างการเล่นเกม โดยไม่ต้องออกจากเกม
กับการใช้งานกล้องที่ POCO F3 มันใส่ฟีเจอร์กันมาอย่างครบถ้วน เช่น AI ,HDR ,การถ่ายระยะประชิด หรือ ฟิวเตอร์ต่างๆ ที่ทำออกมาได้ดีตามสไตล์ของ Xiaomi ,Redmi หรือ POCO ครับ โดยหลักจะมีโหมดการใช้งานคือ ถ่ายวีดีโอสโลโมชั่น ,วีดีโอสั้น ,วีดีโอ ,รูปถ่ายปกติ ,48M ,ภาพบุคคล ,ภาพกลางคืน ,พานอรามา และ โปร ยังสามารถใช้ระยะของการถ่ายภาพได้แบบ Ultra Wide 0.6x ,Wide 1x และ ซูม 2x ตามการรองรับแต่ละโหมด โดยยังรองรับการซูมดิจิตอลได้สูงสุด 10x ที่จัดได้ว่าครบเครื่อง ถ้าลองดูจากภาพถ่ายตัวอย่างด้านท้าย ที่เราจะเห็นว่าระยะ Ultra Wide 0.6x ,Wide 1x และ ซูม 2x โทนสีของภาพที่จะออกมาดูแตกต่างกันบ้างนะครับ โหมดกลางคืนทำออกมาใช้ได้แต่ก็ยังดีไม่สุดตามสไตล์ของ Xiaomi ถ้าอยากได้ให้การถ่ายภาพกลางคืนดียิ่งขึ้น ต้องพึ่ง GCam โหมดกลางคืนจะทำได้ดีมากขึ้น ในการถ่ายภาพบุคคลที่ทำละลายได้เนียนพอสมควร แต่บางจุดอาจละลายเกินเลยไปบ้างครับ ก็ปรับได้ตามความชอบในภายหลัง **** ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องอยู่ด้านท้ายบทความครับ *** การถ่ายวีดีโอที่ทำได้ตามราคา การกันสั่นที่ทำออกมาดีตามระดับราคาของตัวเครื่อง
ในโหมดการถ่ายภาพแบบมือโปร ที่ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าการถ่ายภาพได้อย่างใจนึกมากขึ้น ยังสามารถรองรับการถ่ายภาพที่ความละเอียด 48 ล้านได้เช่นกัน พร้อมกับการถ่ายวีดีโอที่ได้สูงสุดในระดับ 4K 30FPS
โดยส่วนตัวผมชอบกับสมาร์ทโฟนในระดับกลาง ที่ออกแบบตัวเครื่องและประสิทธิภาพให้เทียบชั้นเรือธงได้ ในราคาแบบที่สบายกระเป๋ากว่ากัน โดยส่วนตัวที่ได้ลองใช้งาน POCO F3 มันชวนให้ผมนึกถึง Xiaomi Mi8se ที่ผมใช้อยู่ (มีแต่เครื่องเวอร์ชั่นจีน) หรือ Mi9se คือทุกสิ่งทุกอย่างมันด้อยกว่าเครื่องระดับเรือธงในยุคของมัน แต่การใช้งานและสิ่งที่ให้มาในเครื่อง มันไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าด้อยอะไรมาก แถมจ่ายถูกกว่ากันเป็นเกือบเท่าตัว
Conclusion
POCO F3 มามองกันที่ประสิทธิภาพของ Snapdragon 870 ที่ประสิทธิภาพความแรงถ้าเราพูดว่ามันแรงได้ชนกับระดับเรือธงจริงๆ ถ้ามองกันที่ยุค Mi8se หรือ Mi9se ที่ใช้ Snapdragon 71X ความแรงของมันยังสู้ยุคก่อนหน้าของมันอย่าง Snapdragon 835 ไม่ได้เลย จากสเป็ค Snapdragon 870 ที่เราจะเห็นได้ว่ามันคือ Sanpdragon 865+ มาปรับปรุงใหม่ ให้เป็นรองเรือธงในยุคเดียวกันอย่าง Snapdragon 888 เท่านั้น มาพูดถึงการใช้งานของ POCO F3 ที่ถ้าเรามองกันที่ราคา มันได้ถูกใส่ฟีเจอร์การใช้งานมาได้อย่างครบถ้วน ถ้าเทียบกับสมาร์ทโฟนในระดับเรือธงที่ควรต้องมีในยุค 2021 โดย POCO F3 มีหมด แต่มันไม่ได้สุดซักอย่างถ้าเทียบกับรุ่นอื่นๆในตลาดระดับราคานี้ แต่ก็ยังดีที่ยังมี Snapdragon 870 และ UFS 3.1 ที่ช่วยเชิดชูความน่าสนใจให้กับ POCO F3 ที่ทำให้มันมีประสิทธิภาพและการใช้งานทำออกมาได้ทัดเทียมกับระดับเรือธง การใช้งานหนักหรือเล่นเกมต่อเนื่อง ตัวเครื่องมีร้อนบ้าง แต่ก็ร้อนในระดับที่ยอมรับได้ เพราะมันมีระบบระบายความร้อน Liquid 1.0 ถ้าใครยิ่ง Pre Order ในราคาหนื่นนึงมีทอน มันก็ช่วยให้ทำให้ POCO F3 มันน่าใช้มามากขึ้น แต่ถ้ามีงบประมาณเหลือๆตัว Ram 8 GB + Rom 256 GB ก็น่าสนใจในการใช้งานในระยะยาว ส่วนในเรื่องที่ผมค่อยข้างมึนงงกับมันมาก จากสเป็คแบต 4520 mAh ในการใช้งานจริง 1 วันมันควรต้องเหลือๆ แต่จากที่ผมลองใช้งานมาหลายวัน แบตลงไวจนรู้สึกแปลกใจ โดยส่วนตัวยังคิดว่าปัญหามันมาจาก Rom ที่ต้องรอการอัพเดทเพื่อแก้ไขปัญหาตามแบบฉบับของ Xiaomi สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : Ram 8 GB + Rom 256 GB : 12,999 บาท
Special Thanks : Xiaomi (Thailand) Inc.