สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากที่ทาง AMD ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen ในยุคที่สาม มาได้ซักพัก ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากตลาดกัน วันนี้เราไม่ได็อยู่กับ AMD Ryzen 9 3950X กันครับ แต่จะอยู่กับโมเดลที่ออกมาในตลาดกันแบบงงด้วย AMD Ryzen 5 3500X ที่เป็นการออกมาอุดช่องว่างของตลาดระหว่าง Ryzen 5 3600 และ Ryzen 5 3400G นั้นเองครับ แต่ AMD Ryzen 5 3500X นั้นจะไม่ได้เป็นซีพียูแบบใส่กล่องวางขายปลีกตามหน้าร้านเหมือนปกติ ด้วยความต้องการเล่นราคากับโปรโมชั่น AMD Ryzen 5 3500X นั้นจึงอยู่กับร้านไอทีชั้นนำ ที่ขายขายแบบยกชุด สำหรับ AMD Ryzen 5 3500X ด้วยการใช้พื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 2 โดยใช้ขนาดขบวนการผลิต 7nm บนแพ็คเกจ AM4 ที่รองรับเทคโนโลยี PCIe 4.0 เมื่อใช้กับเมนบอร์ด X570 ด้วยแกนประมวลผล 6 คอร์ 6 เทรด บนความเร็วสัญญาณนาฬิกา 3.6 Ghz ยังสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงสุดที่ 4.1 Ghz ที่มีค่า TDP 65 ถ้าใครไม่พอใจความแรงก็สามารถเค้นเพิ่มเติมกันได้ครับ
ในช่วงนี้แรมราคาไม่สูงมาก กับการเสียงเงินเพิ่มเติมกับแรมบัสระดับ 3200+ ขึ้นไป ก็เรียกได้ว่าน่าสนใจครับ กับประสิทธิภาพในการใช้งานที่สูงขึ้น
Precision Boost 2 ที่ช่วยยกประสิทธิภาพของ AMD Ryzen 3000 ให้สูงมากขึ้น โดยการเพิ่มความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการระบายความร้อน ซึ่งแน่นอนการใช้งานจริงนอกจากชุดระบายความร้อน ควรต้องมาใส่ใจกับการระบายอากาศภายในเคสอีกด้วยครับ
เนื่องจาก AMD Ryzen 5 3500X มันเป็น CPU แบบ OEM จึงไม่มีแพ็คเกจสวยงามมาให้
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่จะเป็น AMD แบบดั่งเดิมมาตั้งแต่ในยุค AMD Athlon 64 ก็เรียกได้ว่าเป็นสิบปีก็ยังคงเดิม เพิ่มเติมมาคือจำนวนขาตามแต่ละซ็อกเก็ต ที่จะเป็นกระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างๆมาตามแบบฉบับของ AMD เรียกได้ว่าซีพียูตัวเดียวผ่านมา 3 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา ,ไต้หวัน และ สุดท้ายประกอบที่จีน
แพ็คเกจ AM4 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 300 Series , 400 Series และ 500 Series
ชุดระบายความร้อน AMD Wraith Stealth ที่ทาง AMD นั้นได้ส่งมาให้พร้อมกับ CPU ซึ่งถ้าใช้งานเดิมๆ Wraith Stealth มันก็เอาอยู่กับค่า TDP 65 Watt ครับ
ในส่วนของ AMD Ryzen 5 3500X จะใช้รหัสการพัฒนา Matisse เพียงแค่สเปกต่างจะแตกต่างจาก Ryzen 3 7nm ในรุ่นอื่นๆ
6 Core 6 Threads ใน AMD Ryzen 5 3500X ที่จะร่วมด้วยช่วยกันประมวลผลการใช้งานด้านต่างๆ
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ASUS TUF X470-Pro Gaming
- VGA : ROG STRIX Radeon RX580 8GB
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 8 GB + G.Skill Trident-Z 8GB
- CPU Cooler : Stock Cooler
- SSD : Silicon Power A56 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1903)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen High Performance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
***** ใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนติดไว้ที่กระดองขณะทำการทดสอบ ไม่ได้ใช้ซอร์ฟแวร์วัดความร้อนของซีพียู *****
Conclusion
AMD Ryzen 5 3500X ก็เป็นอีกหนึ่งความแรงของยุค 3nd Gen Ryzen ที่ต้องการประหยัดงบประมาณในคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ทางด้านประสิทธิภาพถ้าเรามองกันที่ 6 Core / 6 Threads มันก็ถือว่าเพียงพอกับการเล่นเกมในยุค 2020 ได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ถ้าเป็นการใช้งานในรูปแบบที่ต้องการใช้จำนวนเทรดมากโดยส่วนตัวมองว่าเพิ่มงบแล้วไปเล่น Ryzen 5 3600 จะตอบสนองกับการทำงานที่ต้องใช้เทรดมาก อย่างเช่นการตัดต่อ หรือ ประมวลผลต่างๆ AMD Ryzen 5 3500X อีกทั้งยังรองรับการโอเวอร์คล็อกเพื่อเค้นประสิทธิภาพเพิ่มเติมกับโมเดล "X" อีกด้วย AMD Ryzen 5 3500X ที่การเป็นซีพียู 6 คอร์ 6 เทรด พร้อมกับการบูสความเร็วได้สูงสุด 4.1 Ghz ที่สามารถตอบสนองกับการใช้งานได้ดี โดยส่วนตัวผมมองว่า AMD Ryzen 5 3500X เน้นกันที่งบจำกัด แต่อยากใช่งาน Ryzen ในยุคที่ 3 แท้ ที่ใช้พื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 2 โดยก็ต้องลองตรวจสอบโปรโมชั่นทางด้านราคาและสเปคจากร้านค้าไอทีชั้นนำดูกับเครื่องประกอบ ที่ใช้ AMD Ryzen 5 3500X เป็นหัวใจหลักว่าทำราคาได้อย่างน่าสนใจเพียงใด สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : AMD Far East | Thailand