สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากที่ 14th Gen Intel Core ได้เปิดตัวไป แน่นอนว่ามันเป็นการปรับปรุงของ 13th Gen Intel Core ยังคงเป็นแพ็คเกจ LGA1700 มีแค่บางรุ่นที่ได้ E-Core เพิ่ม นอกนั้นเพิ่มแต่ความถี่สัญญาณนาฬิกา เช่นเดียวกับ 13th Gen Intel Core ยังคงเป็นเทคโนโลยีการผลิต Intel 7 10nm ซึ่งเมนบอร์ดสุดโหด เพื่อความที่สุดของสายโหดนักโอเวอร์คล็อกและเกมมิ่งประสิทธิภาพสูง อย่าง ROG MAXIMUS Z790 APEX ENCORE หรือ M15A ENCORE กับเมนบอร์ดที่ได้รับการปรับปรุงจาก หรือ ไมเนอร์เชนจ์จาก ROG MAXIMUS Z790 APEX เพื่อความสุดทางด้านการใช้งาน และ การเค้นประสิทธิภาพจากการโอเวอร์คล็อก ที่หาไม่ได้จากเมนบอร์ด ASUS หรือ ROG ที่ใช้ชิพเซ็ต Intel Z790 ด้วยกันครับ
Package
แพคเกจสีสันดูโดดเด่นสะดุดตาด้วยสีดำตัดกับสีแดง พร้อมลวดลายที่บ่งบอกความเป็น ROG อย่างชัดเจน
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำดุดัน แต่ยังดูสวยงามพร้อมลูกเล่นและลวดลายที่บ่งบอกความเป็น ROG พร้อมการตัด PCB เว้าออกไปตามแบบฉบับ APEX พร้อมลูกเล่นด้วยฝาครอบลาย ROG ในส่วน I/O Cover การออกแบบของเมนบอร์ดที่ดูมีความดุ การจัดวางพอร์ตที่ออกมาดี เอาใจสายโหดเล่นนอกเคส แต่ใช้งานในเคสก็ทำได้ดี เราจะเห็นได้ว่าฮีทซิงค์ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟ และ จุดสำคัญ ใส่มาช่วยเพิ่มความดุดันได้น่าสนใจ เกรดคุณภาพอุปกรณ์พวกภาคจ่ายไฟต่างๆ ที่ทาง ASUS ได้มีความจัดเต็มในการเลือกใช้อุปกรณ์ทนทานต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานหนักต่อเนื่องกับเล่นเกมหรือการโอเวอร์คล็อกได้เป็นอย่างดี พร้อมการฝังเซ็นเชอร์วัดอุณหภูมิที่จุดสำคัญ เช่นซีพียู
จาก PCB สีดำผิวด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆ ทำออกมาดีตามสไตล์ของ ROG พร้อมการเล่นลวดลายบน PCB อย่างชัดเจน บ่งบอกความเป็น M15A ENCORE เอาไว้ด้วย
ซีพียูที่รองรับนั้น LGA1700 14th Gen Intel Core ,13th Gen Intel Core และ 12th Gen Intel Core ที่การออกแบบของ PCB ทาง ASUS ได้เพิ่มการรองรับชุดระบายความร้อน LGA1200/115X เข้าไปด้วย ส่วนตัวเท่าที่ลองใช้งานมา เหมาะกับชุดระบายความร้อนแบบร้อยน็อตยึด ถ้าเป็นแบบคลิปคล็อกไม่ค่อยแนะนำเท่าไรนัก แต่พอใช้งานได้ ติดตั้งให้มีสติด้วย ภาคจ่ายไฟสำหรับ CPU 24 เฟส อัดแน่นกับการใช้งาน ที่รองรับปลั๊ก 12V ATX 8 + 8 Pin ช่วยเรื่องเสถียรภาพของการจ่ายพลังงาน เตรียมพร้อมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงทั้งการทำงาน การเล่นเกม รวมไปถึงการโอเวอร์คล็อก ตัวภาคจ่ายไฟที่ทาง ASUS นั้นได้ใช้อุปกรณ์และการควบคุมภาคจ่ายไฟ พร้อมกับ พร้อมกันการใช้ SMD Capacitor และ MicroFine Alloy Choke ซึ่งจะทำให้การจ่ายพลังงานมีความต่อเนื่องทุกท่วงท่าในการใช้งาน โดยไฟที่จ่ายให้ซีพียูจะมีเสถียรภาพและมั่นคงในการจ่ายพลังงานได้ดี แม้ขณะการโอเวอร์คล็อกระดับสถิติโลก ยังมีการติดตั้งฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำลายและฝาครอบอันสวยงาม สำหรับภาคจ่ายไฟแบ่งเป็นสองท่อน ผนวกด้วยท่อฮีทไปท์
ภาคจ่ายไฟสำหรับซีพียู 24 เฟส เรียกได้ว่าสุดมาก
สล็อตติดตั้งแรมที่เมนบอร์ดตัวนี้จะรองรับ เมโมรี DDR5 รองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 96GB ในเรื่องการโอเวอร์คล็อกความเร็วที่รองรับสูงสุดระดับ 8400+ Mhz ตามสเปค ที่ตอนนี้เค้าลากกันระดับหมื่นได้แล้ว แล้วยังมี ROG DIMM.2 ที่เพิ่มการเชื่อมต่อ SSD NVMe M.2 ได้อีก 2 ตัว ขนาดสูงสุด 22110
สล๊อต PCI-Express 5.0 x16 จำนวน 2 สล็อต ที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วย Safe Slot เป็นการสื่อสารผ่าน CPU แบบ x16 และ x8+x8 นอกนั้นจะมี PCIe 4.0 (X4) จำนวน 2 สล็อต
การติดตั้ง SSD M.2 บนเมนบอร์ดมีมาให้ใช้งาน 2 Slot รองรับ SSD สูงสุดขนาด 2280 แบบ NVMe PCIe 4.0 และ SATA ได้ ในการติดตั้งควรดูลายบน PCB หรือ คู่มือให้ดี แถมรองรับการเชื่อมต่อ Raid 0/1/5/10 อีกด้วย ที่สำคัญมี SSD M.2 ที่สื่อสารผ่าน CPU ตัวติดกับซีพียู เป็น NVMe PCIe 5.0 ขนาดสูงสุด 2280 โดยทุกตัวมีฮีทซิงค์ครับ
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมด 4 พอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพเซ็ต Intel Z790 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0/1/5/10 ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำพร้อมลาย ROG และ จุดต่อไฟ PCIe 8 pin สำหรับสายโหด หรือ ต่อให้ดูบอร์ดแน่นๆได้
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 20Gbps และ 5Gbps พร้อมกับ Q-RELEASE ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการถอดการ์ดจอสมัยใหม่มาก
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Address RGB 5V และ RGB 12V ต่อมา RSVD ,V_LATCH รวมไปถึงการเชื่อมต่อพอร์ต USB 2.0 เข้ากับเคส หรือ อุปกรณ์อย่างอื่น เช่นชุดน้ำ ของตบแต่งต่างๆ แล้วก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมให้รองรับ ThunderBolt 4 (USB 4)
การเชื่อมต่อพอร์ต USB 2.0 เข้ากับเคส หรือ อุปกรณ์อย่างอื่น เช่นชุดน้ำ ของตบแต่งต่างๆ แล้ว Bios Switch ,จุดเชื่อมต่อปั้มน้ำ ,จุดเชื่อมต่อโฟลมิเตอร์ และ การต่อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ
สำหรับสายโหดที่ ASUS ได้อำนวยความสะดวกในการใช้งานไว้ตรงนี้ ปุ่มพาวเวอร์ และ FLEX Key ที่ปรับการใช้งานได้ใน BIOS ที่มี Q-Led และ Q-Code มาให้สะดวกในการวิเคราะห์ปัญหา ,จุดวัดไฟเลี้ยง ,สวิตซ์ Slow Mode ,สวิตซ์ Pause ,ปุ่ม Retry ,การเชื่อมต่อ Address RGB 5V รวมไปถึงการปรับ BCLK ที่ปรับได้จากปลายนิ้ว
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ด ROG SupremeFX ด้วยชิพจาก Reaktek ALC4080 รองรับระดับเสียง 32 Bit / 384 kHz พร้อมกับการใช้คาปาซิเตอร์ใช้ ELNA เกรดเครื่องเสียง การตัดแยกกราว์นนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ของเมนบอร์ดยุค 2023 แล้วยังมี Savitech SV3H712 เป็นภาคขยายหูฟัง
Back Panal I/O Ports
แสงสีกันตามยุคสมัย มีแบบพอดี ชอบแบบอลังต่อเพิ่มตามความชอบ
System Setup
- Memory : G.Skill TridentZ5 RGB 32GB F5-7200J3445G16GX2-TZ5RS
- VGA : PNY XLR8 GeForce RTX 4090
- CPU Cooler : ROG RYUJIN III 360 ARGB
- SSD : HIKSEMI FUTURE 2TB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 11 Home 22H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
ROG MAXIMUS Z790 APEX ENCORE เป็นเมนบอร์ดที่โหดแสบส่งท้ายยุค LGA1700 หรือ 14th Gen Intel Core ได้เป็นอย่างดี ในเรื่องประสิทธิภาพที่แรง !!! เอาแค่เล่นแรมบัส 8000+ โดย ROG Maximus Z790 Apex Encore ปรับค่าทามมิ่งหลักและไฟเลี้ยงแรม กด F10 ทีเดียวติด เล่นเกมได้ ใช้งานไม่มีปัญหา พอมาเทียบกับ ROG Strix ที่เป็นชิพเซ็ต Intel Z790 เหมือนกัน ที่ปรับทุกอย่างเหมือนกัน แต่เปิดไม่ติดครับ ที่เราพอมองเห็นได้ว่า ROG Maximus Z790 Apex Encore มันคือตัวช่วยที่ดีสำหรับการโอเวอร์คล็อกในระดับการเล่นเกม หรือ ระดับสถิติ ถ้ามองกับที่ค่าตัว ROG Maximus Z790 Apex Encore มันเบากว่า ROG Maximus Z790 Formula มองที่การใช้งาน ไม่ได้สนใจ Slot Ram 4 แถว แค่ 2 พอ ROG Maximus Z790 Apex Encore จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก พร้อมทั้งการอัพเกรดและใส่การใช้งานมาได้ตามยุคตามสมัยเทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งเมนบอร์ดที่มีความรู้สึก ถ้างบประมาณสูงพอ ,ไม่สนใจออฟชั่นเยอะแบบ Formula และ ไม่ติด Slot Ram แค่ 2 แถว มันคือทางเลือกที่น่าสนใจส่งท้าย LGA1700 หรือ 14th Gen Intel Core สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.