สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน เป็นเวลาที่ดีที่เราจะได้เจอกับการ์ดจอที่เล่นเกมแรงที่สุดในโลก ที่ในปี 2025 แรงไร้คู่แข่ง มาพร้อมกับเทคโนโลยี AI ที่ยังมี Eco System สถาปัตยกรรม Blackwell กับ NVIDIA GeForce RTX 5090 ในรุ่น Founders Edition ที่ทั้งโลกมีของน้อยมาก ด้วยราคาเปิดตัว 1999 USD ตีกลมๆ 2000 USD ที่แพงกว่า RTX4090 FE แต่ RTX5080 ลงมาที่น่าจับต้องได้มากกว่า RTX40 Series ราคา NVIDIA GeForce RTX 5090 เหมาะกับไปใช้งานเทรน AI หรือ ทำงานซะมากกว่า ถ้าคิดว่าความพิเศษของ NVIDIA GeForce RTX 5090 Founders Edition มันเป็นการ์ดแบบ Dual Slot สามารถใช้งานร่วมกับเคส SFF ตามมาตรฐาน NVIDIA ได้ ยังมีความโดดเด่นเรื่องการระบายความร้อน NVIDIA GeForce RTX 5090 ในสถาปัตยกรรม Blackwell มี CUDA Core 21760 คอร์ และ AI 3352 TOPS พร้อมหน่วยความจำ GDDR7 ความจุ 32GB 512 บิต ด้วยเทคโนโลยี Tensor cores รุ่นที่ 5 ประสิทธิภาพ AI สูงสุดด้วย FP4 และ DLSS 4 ขับเคลื่อนด้วย AI ปรับให้เหมาะสม สำหรับ Ray Tracing Cores รุ่นที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเรขาคณิตขนาดใหญ่ ช่วยให้สามารถรันเกมที่ต้องการกราฟิกสูงสุดและครีเอทีฟแอปพลิเคชั่นด้วยความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดี ยังมี NVIDIA Studio สามารถสร้างสรรค์ครีเอทีฟโปรเจ็กต์ให้มีชีวิตขึ้นมาได้เร็วกว่าที่เคย GeForce RTX 5090 สร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรม Blackwell ใช้ชิปรหัสว่า GB202 ที่ Blackwell เทคนิคใหม่ๆด้วย RTX Neural Shader ใช้ในการบีบอัดพื้นผิวในเกมได้ ใน RTX Neural Faces มุ่งหวังที่จะปรับปรุงคุณภาพใบหน้าโดยใช้ AI โดย DLSS 4 ประกอบด้วย Multi Frame Generation ซึ่งสร้างเฟรมเพิ่มเติมได้สูงสุดสามเฟรมต่อเฟรมดั้งเดิมและสามารถเพิ่มอัตราเฟรมได้มากถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับการเรนเดอร์ดั้งเดิม ที่ทำให้ RTX50 Series มีความน่าสนใจมาก วันนี้เราจะมาเจอ NVIDIA GeForce RTX 5090 Founders Edition การ์ดตัวจริงจะมีความอลังการมากเพียงใดตามมาชมครับ
GeForece RTX5090 | GeForece RTX4090 | GeForece RTX5080 | GeForece RTX4080 | |
Architecture |
Blackwell
|
Ada Lovelace | Blackwell | Ada Lovelace |
Process
|
TSMC 4N | TSMC 4N | TSMC 4N | TSMC 4N |
CUDA Core | 21760 | 16384 | 10752 | 9728 |
Tensor Core (AI) | 650 - Gen 5 | 512 - Gen 4 | 366 - Gen 5 | 304 - Gen 4 |
AI TOPS | 3352 | 1321 | 1801 | 780 |
Ray Tracing Core | 170 - Gen 4 | 128 - Gen 3 | 84 - Gen 4 | 76 - Gen 3 |
GPU Boost Clock | 2047 Mhz | 2520 Mhz | 2617 Mhz | 2505 Mhz |
Memory | 32GB GDDR7 | 24GB GDDR6X | 16GB GDDR7 | 16GB GDDR6X |
Memory Interface | 512 Bit | 384 Bit | 256 Bit | 256 Bit |
Bandwidth
|
1792 GB/s | 1008 GB/s | 960 GB/s | 716.8 GB/s |
TDP | 575w | 450w | 360w | 320w |
Package & Bundled
NVIDIA GeForce RTX 5090 Founders Edition เป็นกล่องกระดาษแข็งธรรมดาๆ ที่มีความแข็งแรงใช้ได้ ไม่ได้เน้นลายที่ดุูอลังการและสีสรรค์ใดๆ
ที่ขอบด้านล่างเขียนเอาไว้ "ได้รับแรงบันดาลใจจากเกมเมอร์ ปรับปรุงโดย AI สร้างโดย NVIDIA"
ผู้ผลิตที่เราคุ้นกันดี การ์ด Founders Edition มาจาก Foxconn มาอย่างยาวนาน
เมื่อเปิดกล่องออกแล้วพบกล่องกระดาษแข็งสีน้ำตาลอีกกล่อง ในรุ่นก่อนหน้าใช้กล่องกำมะหยี่สีดำของการ์ด Founders Edition
สายต่อแบบ 12V-2x6 มีพินตัวเมียที่ลึกกว่าเพื่อให้สัมผัส แต่สามารถใช่งานไดด้ร่วมกับ 12VHPWR โดยทาง NVIDIA จัดสายไฟด้วยปลอกพลาสติกแข็ง โดยไม่ให้สายไฟเคลื่อนตัวไปมาจนทำให้หน้าสัมผัสภายในหลวม
คู่มือเริ่มต้นใช้งานและคำแนะนำพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งการ์ด และรหัส QR เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ที่มีคำแนะนำในการติดตั้งโดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลการรับประกันผลิตภัณฑ์ด้วย
รูปทรงกล่องในที่ดูคล้ายกับการ์ดจอตัวนึง
Design & Detail
การ์ดมีขนาด 30.4 ซม. x 13.7 ซม. x 4 ซม. (ยาว x สูง x กว้าง) เป็นแบบ Dual Slot ความยาวและความสูง กะด้วยสายตาที่พอๆกับ RTX4090 FE ที่สามารถใช้งานร่วมกับเคส SFF ตามมาตรฐาน NVIDIA ได้ GeForce RTX 5090 Founders Edition โครงสร้างภายนอกทำมาจากอลูมิเนียมทั้งด้านและส่วนโค้งที่เรียบเนียน มีไฟ LED สีขาวเป็นรูปตัว X การ์ดหนักประมาณ 1825 กรัม
GeForce RTX 5090 Founders Edition ระบบระบายความร้อนแบบ NVIDIA Double Flow Through ที่ PCB ของการ์ดจริง จะอยู่ตรงกลาง โดยมี PCB แยกจากกันที่เชื่อมต่อจอมอนิเตอร์ ทำให้มีพื้นที่สำหรับการไหลเวียนของอากาศมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่าใช้พัดลมขนาด 12 ซม. มีเทคโนโลยีการออกแบบตามยุคสมัย
พัดลมตัวที่ 2 ก็ 12 ซม.
ระบบระบายความร้อนใช้ Vapor chamber และ ฮีทไปท์ทองแดงจำนวน 5 ท่อ ร่วมกับครีบแบบ dual fin stack เพื่อระบายความร้อนชิพกราฟฟิก NVIDIA GB202 , GDDR7 จำนวน 16 เม็ด และ ภาคจ่ายไฟ 27 เฟส ของตัวการ์ด
มีโลโก้ NVIDIA ปั๊มแอบไว้ในภาพต้องมองให้ดีถึงเห็นได้ และ RTX 5090 ปั๊มลึกลงไปที่ผิว
ในภาพที่เราจะเห็นการออกแบบ NVIDIA Double Flow Through ที่มันสามารถมองทะลุข้างล่างได้
นี่พัดลมตัวหลัง ยังคงมองทะลุไปข้างล่างได้
สันการ์ดเป็นโลโก้ GeForce RTX แบบมีไฟ LED อยู่ด้านบน ด้านบนมีช่องเจาะเล็กๆ เพื่อให้ลมไหลผ่าน
ด้านล่างมีช่องเจาะเล็กๆ เพื่อให้ลมไหลผ่าน ส่วนการเชื่อต่อแบบ PCI Express 5.0 สังเกตุที่ PCB ให้ดี มันมาแบบเรียบๆ ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ได้ เหมือนสายแพรที่ต่อกับการ์ดหลัก
โลโก้ GeForce RTX แบบมีไฟ LED เมื่อเครื่องทำงาน แต่สุดท้ายสายไฟก็บังครับ
เต้ารับ 12V-2x6 ไม่ชี้ขึ้นตรงๆ แต่จะเอียงไปทางด้านบน ช่วยลดการโค้งงอของไฟเชื่อมต่อ
ส่วนโค้งที่เรียบเนียน
การเชื่อมต่อ DisplayPort 2.1a จำนวน 3 พอร์ต และ HDMI 2.1b
ไฟ LED สีขาวโลโก้ GEFORCE RTX ติดเมื่อระบบทำงาน
ถ้าเล่นแสงสี ไฟ LED สีขาวที่การ์ดเข้าได้กับทุกสี
เราเห็นได้ว่าตรงการ์ดในช่วงพัดลมที่ให้อากาศไหลทะลุผ่านได้
ความสวยงามของการ์ดที่ทำให้ดูดีมาก
ข้อมูลของการ์ดที่แจ้งผ่าน GPU-z ถือว่าเกือบครบถ้วนแล้ว สามารถดูในเรื่องการใช้พลังงาน ความร้อนในส่วนต่างได้อย่างครบ จะมีแต่ Hot Spot ที่แจ้งเป็น 255 องศา
System Setup
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- CPU : AMD Ryzen 7 9700X
- Memory : Kingston FURY Renegade DDR5 RGB 6800MHz 32GB
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 24H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
NVIDIA GeForce RTX 5090 สำหรับประสิทธิภาพมันย่อมคู่กับซีพียูในระดับเรือธงอย่าง Core i9 14000K ,Core 9 285K ,Ryzen 9 9900X ,Ryzen 9 9950X และ ระดับเรืองธง หรือ HEDT ที่รองรับการ์ดจอ PCIe 5.0 (ดูดีๆ อย่าไปสับสนกับ SSD M.2) ในการทดสอบใช้ซีพียูในระดับเมนสตรีม ที่ยังไม่สามารถเข็นประสิทธิภาพและความแรงของ NVIDIA GeForce RTX 5090 ได้เต็มพลัง การ์ดจอราคาเปิดตัวเริ่มต้น 2000 USD ย่อมคู่ควรกับระบบในระดับ Hi-End ที่แท้ทรู ไม่งั้นประสิทธิภาพที่อาจตกหล่นหายไประหว่างการใช้งานได้
สถาปัตยกรรม Blackwell ของ RTX5090 ถ้ามองที่พลังดิบในด้านเล่นเกม ที่สามารถตอบสนองการเล่นเกมในระดับ 4K ได้อย่างไหลลื่น ซึ่งบางเกมที่เค้าบอกว่าแรงขึ้น แต่ตัวเกมที่ผมใช้ในการทดสอบยังไม่ได้การอัพเดทเวอร์ชั่น ผลที่ออกมาจะเป็นในลักษณ์พลังดิบที่ออกมาดีขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเอาไปเทียบกับ RTX4090 ที่เคยใช้อยู่สามตัว แต่ถ้ามองเกมที่ได้รับพลังเสริม เช่น DLSS ใน RTX5090 เทียบกับ RTX4090 ก็แรงขึ้นนะ แต่ไม่ได้แรงมากจนอยากเปลี่ยนไปใช้ RTX5090 มากนัก ถ้ามองในแง่ดีฟีเจอร์ต่างที่ต้องมีการเรียนรู้ เช่น DLSS ที่ต้องให้เวลาอัพเดท Driver และ เกม ถ้ารองรับ DLSS 4 ที่ประสิทธิภาพจะดีกว่านี้มากๆ ในการเล่นเกมช่วยให้เล่นเกมระดับ 8K ได้แน่นอน หรือ 4K ที่เฟรมเรทสูงๆ ฟีเจอร์และการออกแบบของ RTX5090 มันไม่ใช่การ์ดเล่นเกมเพียว มันคือการ์ดเอาไปใช้ทำงานได้ Tensor cores รุ่นที่ 5 ประสิทธิภาพ AI สูงสุดด้วย FP4 และ Ray Tracing รุ่นที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเรขาคณิตขนาดใหญ่ ช่วยให้สามารถรันเกมที่ต้องการกราฟิกสูงสุดและครีเอทีฟแอปพลิเคชั่นด้วยความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดี ยังมี NVIDIA Studio สามารถสร้างสรรค์ครีเอทีฟโปรเจ็กต์ ที่สำคัญมันยังเอาไปใช้ในการเทรน AI ได้อีกด้วย ซึ่งคาดว่า RTX5090 ย่อมมีความต้องการในตลาดสูง ราคาย่อมสูงมากในช่วงแรกเหมือน RTX4090 คงไม่ใช่ 2000 USD ในราคาเริ่มต้น ถ้ามุ่งเป้าในการเล่นเกมเป็นหลัก RTX5080 มีความน่าสนใจด้วยราคาลงตัวมากกว่า RTX5090 แต่ถ้าเป็นบุคคลระดับสุลต่าน ในปี 2025 การชื้อ NVIDIA GeForce RTX 5090 เพื่อการเล่นเกมล้วนๆ มันไม่เรื่องผิดอะไรเลย
NVIDIA GeForce RTX 5090 Founders Edition เป็นการ์ดแบบ Dual Slot สามารถใช้งานร่วมกับเคส SFF มาตรฐานโดย NVIDIA ใครที่มองว่าจะไปยัดใส่เคส MINI ITX เล็กๆ ต้องคิดให้ดีนะ เพราะการ์ดมันร้อนมากในการใช้งาน ถึงแม้การออกแบบการระบายความร้อน NVIDIA Double Flow Through ที่ความร้อนจากด้านล่างขึ้นไปด้านบนของเคส ในการใช้งานจริงที่ควรอาบน้ำซีพียู ถ้าใช้ฮีทซิงค์มันมีโอกาสความร้อนไปสู่ซีพียูได้ง่ายมาก ผมมองว่า NVIDIA ที่ทำการระบายความร้อน NVIDIA Double Flow Through ให้เป็นแนวทางกับผู้ผลิต ซึ่งในอนาคตมีโอกาสได้เห็นแน่ ซึ่ง GeForce RTX 5090 จากผู้ผลิตต่างๆ ที่มากับ 3 Slot ชุดระบายความร้อนงานสร้าง ยกเว้นโมเดลที่ใช้ AIO Cooling จะการ์ดแบบ Dual Slot แต่หม้อน้ำ 360 ครับ ถ้าอยากได้ NVIDIA GeForce RTX 5090 ในขนาดกระทัดรัดที่ใช้ลมระบายความร้อน Founders Edition ครับ โดยส่วนตัว NVIDIA GeForce RTX 5090 Founders Edition มีความร้อนในการใช้งานเยอะมาก ที่ผมเทสและลองเล่นเกมอยู่หลายวันหลายคืน เอาซะหน้าร้อน ในห้องอุ่นขึ้นได้ การใช้งานจริงภายในเคสต้องจัดระเบียบทางลมให้ดี
ความจริงที่โหดร้ายที่สุด NVIDIA GeForce RTX 5090 มันใช้พลังงานสูงมาก ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจอการ์ดจอระดับตามบ้านที่ใช้ไฟเยอะแบบนี้ จากงาน Computex 2024 และ CES 2025 ผู้ผลิตได้โชว์พาวเวอร์ซัพพลายในระดับ 1200-2000 วัตต์ กันเยอะมาก ซึ่งนั้นก็คือระดับที่ควรจะต้องใช้ ถึงแม้ในการทดสอบกินไฟประมาณ 720 วัตต์ แต่นั้นคือการโหลดที่การ์ดจออย่างเดียว ถ้าซีพียูดึงโหลดหนัก รวมไปถึงในการทดสอบไม่อาจไม่ได้ใช่พลังงานถึงที่สุด การใช้พาวเวอร์ซัพพลายในระดับ 1200-2000 วัตต์ ขึ้นกับสเปกและของที่ใช้ภายในเครื่องด้วย มันจะไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร วันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : NVIDIA Corporation