สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ถ้าเรามาพูดถึงมาตรฐานคอมพิวเตอร์ยุค 2022 ที่การใช้งานเมโมรีนั้นจะเปลี่ยนไปใช้ DDR5 กันอย่างไม่ต้องสงสัย สามารถใช้งานได้กับ12th Gen Intel Core ถ้าสาวก AMD เก็บเงินรอหลังกลางปี 2022 ซึ่งด้วยสถานการณ์เมโมรี DDR5 ด้วยราคาที่สูง และ การปริมาณจำกัด แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นเมโมรี DDR5 จาก G.Skill มีช่องทางการขายมากขึ้น พอหาซื้อได้แบบไม่ต้องประกอบยกชุด สำหรับวันนี้เราจะพอมาชมเมโมรี DDR5 ตัวแรง ที่เรียกได้ว่าถูกใจสายเกม คนทำงาน และ นักครีเอเตอร์ ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง กับ G.Skill Trident Z5 RGB มาพร้อมกับแสงสี ในโมเดล F5-6000U3636E16GX2-TZ5RS ด้วยสเป็ค DDR5 6000Mhz CL36 ชุดแบบ Dual Chnnels ที่ความจุ 32GB ดูจากสเป็คที่เรียกได้ว่า มันทั้งแรงในการใช้งาน และ ถูกใจสายโอเวอร์คล็อกอย่างแน่นอน
Package & Bundled
แพคเกจในแบบกล่องพิมพ์ลายเคลือบด้าน มีอารมณ์ใกล้เคียงกับ Trident Z / RGB ในยุค DDR4 แต่นี่มัน Trident Z5 RGB ก็มีความแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย ในกล่องจะมีสติกเกอร์เพิ่มความแรงหน้าเครื่อง แต่ผมชอบโลโก้สติกเกอร์ที่ให้มาในกล่องยุค DDR1 DDR2 มากกว่า
ชัดๆกับสเป็คของตัว Trident Z5 RGB ที่เราจะมาทำการทดสอบในวันนี้
Design & Detail
ภายนอกจะเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุด คงหนีไม่พ้น Heatspeader อลูมิเนียมสีเงิน แต่ G.Skill ก็มีทางเลือกสีดำด้วย สีถ้ามองกันที่อารมณ์การออกแบบมันก็คล้ายกับ Trident Z/RGB แต่ Trident Z5 RGB จะมีการทำพื้นผิวเป็นลักษณะการยิงทราย ตัดกับผิวเรียบ พร้อมกับการใส่ลวดลายเส้นขวางตามการออกแบบทรงของฮีทซิงค์ แถบคาดกลางสีดำ ที่มีการบ่งบอกตัวตนด้วยโล้ Trident Z5 RGB ดูเรียบง่าย แต่แอบดุดันดี ความสูงของ Heatspeader ถ้าการใช้งานฮีทซิงค์ประสิทธิภาพสูงไม่น่ามีปัญหาอะไรมาก จะมีเพียงฮีทซิงค์บางตัวที่จะติด ก็ใช้ลูกเล่นติดตั้งพัดลมภายหลังติดตั้งแรม ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร
มาถึงในส่วนด้านหลังกันบ้าง Heatspeader ที่จะเป็นรูปแบบเดียวกันด้านหน้า พร้อมกับฉลากบ่งบอกข้อมูลประจำตัวของ Trident Z5 RGB โดยถ้าจะส่องชิพแรม G.Skill ต้องส่งจาก P/N เอา
Trident Z5 RGB การออกแบบจุดแสงสว่าง จะเป็นการใช้พลาสติกสีขาวนม ให้แสงที่ออกมานั้นกระจายออกมาได้เนียนสายตา ไม่เห็นไฟที่สว่างออกมาเป็นเม็ดๆ LED ในส่วน Heatspeader ที่ออกแบบมาให้เป็นครีบ ที่สามารถรับกับอากาศได้ดี
การยึดติดกับระหว่างเมโมรีโมชิพและ Heatspeader จะเป็นการใช้แผ่นระบายความร้อนแบบการในถ่ายเทความร้อน ที่การออกแบบของ Heatspeader ถือว่าทำออกดี ที่ความนาบเกือบสนิทในฝั่งเมโมรีชิพ ใครใช้แรม G.Skill ถ้าไม่มีความจำเป็นอย่าไปงัดฮีทซิงค์เล่นนะครับ เพราะถ้าเวลาส่งเครมแล้วเก็บหน้าศพไม่เนียนจะมีปัญหาในการรับประกัน เอาเป็นว่าถ้าอยากจะทำ ทำให้เค้าไม่รู้ว่าแกะมาจะดีที่สุด โดยตัวนี้เป็นเม็ดแรมจาก Samsung นะครับ
เจ้าพ่อแรม ยังไงก็คือเจ้าพ่อ ที่สั่งหรือผลิต PCB ใช้เป็นของตัวเองแล้วในยุค DDR5
ชุด Dual Channels 32GB เท่ากับว่า 1 แผง = 16GB ครับ ตามหลักการของ Intel หรือ ผู้ผลิตแรมจะเรียกว่า Dual Channels หรือ Kit of 2 ถึงแม้หลักการทำงานภายในเมโมรีโมดูล 1 แผง จะทำงานแบบ Dual Channels ก็ตาม
แสงสี RGB ที่ยังคงความเป็น G.Skill Trident สามารถปรับแต่งได้ร่วมกับซอร์ฟแวร์เมนบอร์ดชั้นนำ ที่รองรับ RGB ครับ
พร้อมโปรไฟล์ JEDEC ที่มีมา 7 ชุด รองรับความเร็วที่หลากหลาย ถ้าเป็นการใช้งานแรม 4 แผง ความเร็วมาตรฐานจาก 4800 จะถูกลดลงมาที่ 3600
เม็ดแรมที่ใช้ Samsung โดยจะรองรับค่าโปรไฟล์ XMP หลายชุด ตามระบบที่เป็นไปได้ พร้อมโปรไฟล์ JEDEC ที่ 4800 Mhz ตามสเป็คพื้นฐาน
การโอเวอร์คล็อกแรม DDR5 ถึงแม้ส่วนต่างอาจไม่ได้เพิ่มสูงมาก การปรับไฟ VDD และ VDDEQ สองอย่างนั้นยังไม่พอ แค่จาก 6000 ไป 6400 ยังต้องปรับหลายจุดครับ ในการโอเวอร์คล็อกแรมวันนี้ ผมเน้นจูนง่าย แบบใช้งานจริงได้
System Setup
- CPU : Intel Core i9 12900k
- VGA : ASUS Dual Radeon RX6600 XT
- CPU Cooler : ROG Ryujin II 240
- SSD : Kingston NV1 1TB
- PSU : ROG THOR 1200 Watt
- OS : Windows 11 Pro
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Overclocked @ 6200Mhz CL36-36-36-76 (VDD+VDDQ 1.375V)
หลังจากทดลองเพิ่มบัสมาที่ 6200 เราจะเห็นว่าประสิทธิภาพของเมโมรีทำออกมาได้สูงมากขึ้น จริงใช้ไฟประมาณ 1.35 ก็น่าจะพอ แต่พอดีเมนบอร์ดตัวที่ผมใช้ทดสอบนั้นจ่ายไฟแรมหย่อนลงไปนิดนึง
Overclocked @ 6400Mhz CL36-36-36-76 (VDD+VDDQ 1.435V)
ขยับมาที่ 6400 Mhz ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบทำออกมาได้ดีขึ้น แม้จะไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับซีพียู ปรับแค่ไฟแรม
การ์ดจอไม่ได้ไปยุ่งกับความเร็วใดๆ การทดสอบ 3DMark ก็ยังได้คะแนนที่สูงขึ้น
Overclocked @ 6600Mhz CL36-38-38-76 (VDD+VDDQ 1.45V)
ในความเร็วระดับ 6600 Mhz ที่เรียกได้ว่าปรับขึ้นมาได้ทะลุกว่า DDR5 ตัวอื่นที่ผมเคยได้จับมาแบบไม่ต้องจูนอะไรเพิ่มเติม ผมมองว่าถ้าใครจูนเก่ง ใช้งานได้สบายๆ หรือ รอการออกอัพเดทไบออสจากผู้ผลิต DDR5 ระดับ 6600+ ไม่ใช่เรื่องยากเย็น
Overclocked @ 6200Mhz CL34-34-34-76 (VDD+VDDQ 1.45V)
ก็ลองลด CL ลงมาที่ 34 พร้อมกับการเพิ่มบัสไปที่ 6200 ถือว่าประสิทธิภาพออกมาดีขึ้น ถ้ามีเวลาจูนเค้นไปที่บัส 6400 Mhz CL34 มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก แต่โดยส่วนตัวมองว่า CL36 มันถือว่าต่ำมากสำหรับยุค DDR5 ถ้าจะโอเวอร์คล็อกใช้งานจริง โดยส่วนตัว CL36 บัส 6400-6600 กำลังสวย
Conclusion
G.Skill Trident Z5 F5-6000U3636E16GX2-TZ5RS แรม DDR5 ตัวแรง ไม้เด็ดจาก G.Skill ส่งท้ายปี 2021 นอกจากทางด้านการออกแบบและความสวยงาม ที่ทาง G.Skill ได้มีการออกแบบให้คงความเป็น Trident Z แต่มีความทันสมัย สีสัน RGB ดูสวยงามกำลังดี ตอบรับกับยุค 2022 ยิ่งตัวแรมสีเงินที่เข้ากับการจัดเครื่องด้วยเมนบอร์ดสีขาว หรือ แต่งเคสในธีมขาว ทางด้านสเป็ค รวมไปถึงประสิทธิภาพความแรง G.Skill Trident Z5 เรียกได้ว่าไหลลื่นในการใช้งาน ทั้งการเล่นเกม การทำงาน และ ครีเอเตอร์ ที่มันช่วยยกระดับการทำงานของคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้อย่างน่าสนใจ มาถึงทางด้านการโอเวอร์คล็อกกันบ้าง F5-6000U3636E16GX2-TZ5RS ด้วยที่มันใช้ชิพ Samsung ถือว่ามีอานาคตที่ดี การทดสอบยังไม่ได้จูนและยัดไฟ ทั้งการลากบัสที่สามารถแตะไปที่ระดับ 6600Mhz+ พร้อมกับยังสามารถกด CL34 เท่าที่ลองดูกดลงระดับ CL32 ได้ แต่ Windows ลาโลก ผมเลยไม่ได้ทดสอบต่อ เดี๋ยวขอไว้ลองเล่นกับ ROG Maxmius Z690 APEX และ Formula เพิ่มเติม ส่วนทางด้านราคาที่ผมเห็นวางขายในไทย มีเฉียดสองหมื่นบาท ถือว่ามันต้องกระเป๋าหนักพอสมควรถ้าต้องการที่จะใช้ G.Skill Trident Z5 F5-6000U3636E16GX2-TZ5RS ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : G.SKILL International Enterprise Co., Ltd