กราบสวัสดีครับ นายทองดีและหูเหล็กกลับมาแล้ว ในวันนี้จะขอนำเสนอเนื้อหาเบาๆก่อนที่จะพาเพื่อนๆไป โมดิฟายกันด้วยตัวเอง จึงขอนำเสนอส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้เสียงดีขึ้นในชุดสุดหวงของเรากัน วันนี้จะมาพูดถึง C หรือ Capacitor คอนเดนเซอร์ สุดแล้วแต่ที่จะเรียกกัน Capacitor หรือในชื่อไทยๆนั้น เรียกกันว่า ตัวเก็บประจุ มันคืออะไร มีความสำคัญในงานเครื่องเสียง-DIY ยังไง ข้อมูลเชิงลึก >> http://www.kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-03.html
เราจะมาพูดถึง Capacitor สำหรับงานเครื่องเสียงเท่านั้นนะคับ
Capacitor แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามการใช้งาน
1.Coupling Capacitor หรือ C คัปปลิ้ง Capacitor ประเภทนี้ ทำหน้าที่ กันไฟ DC ให้ผ่านเฉพาะไฟ AC เป็น Capacitor ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะอยู่ภายในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นเฉพาะในภาค Crossover Network ของลำโพง เพราะจะเป็น Capacitor ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่
2.Filter Capacitor หรือ C ฟิลเตอร์ Capacitor ประเภทนี้ อยู่ในภาคจ่ายไฟ ทำหน้าที่กรองไฟ DC ให้มีความเรียบ การใส่ C Filter คือการปรับแรงดันไฟ DC ให้มี ripple น้อยที่สุด จากวงจรเรียงกระแส ซึ่ง V ripple หรือแรงดันพริ้ว ยิ่งน้อยก็ยิ่งดีเพราะจะทำให้แรงดัน DC เรียบมาก
ประเภทของ C Coupling
ชนิดเซรามิค (Ceramic Capacitor) บางคนเรียก ซีจานบิน เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด ( uF) มีราคาถูก ไม่เหมาะสำหรับงานเครื่องเสียงเพราะมีอัตราการสูญเสียและความผิดพลาดสูงมาก
ชนิดไมล่าร์ (Mylar Capacitor) หน้าตาเหมือนหมากฝรั่ง เลยเรียกกันว่า ซีหมากฝรั่ง เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่ามากกว่า 1 ไมโครฟารัด ( uF) เป็นตัวเก็บประจุอีกชนิดนึง ที่ไม่เหมาะสำหรับงานเครื่องเสียอย่างยิ่ง คุณสมบัติคล้ายๆกับแบบเซรามิค แต่มีค่าที่สูงกว่า มักจะเห็นถูกใช้งานในเครื่องเสียงราคาถูก
ชนิดไมก้า(MICA Capacitor) แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
ดิพไมก้า(DIP MICA Capacitor) ทำมาจากแผ่นโลหะคั่นกับชั้นของไมก้า
ซิลเวอร์ไมก้า(Silver MICA Capacitor) ทำมาจากโลหะเงิน เคลือบลงบนแผ่นไมก้า
ตัวเก็บประจุทั้งสองแบบ มีเสถียรภาพดี ความสูญเสียต่ำ มีราคาแพง เหมาะสำหรับงานเครื่องเสียงเป็นอย่างมาก แต่มีข้อจำกัดตรงไม่สามารถผลิตให้มีค่าสูงได้
ตัวเก็บประจุแบบโพลี(Poly Capacitor)
ชื่อก็บอกแล้วว่าตัวเก็บประจุชนิดนี้ ทำมาจากแผ่นพลาสติกชนิดต่างๆ เช่น โพลีเอสเตอร์ โพลีสไทลีน โพลีคาบอเน็ต และโพลีโพรไพลีน ตัวเก็บประจุชนิดนี้ ถือว่ามีบทบาทในวงการเครื่องเสียงมากที่สุด ราคาตั้งแต่หลักสิบ ยันหลักพัน หลักหมื่นก็มี โพลีโพรไพลีนจะเห็นใช้เครื่องเสียงราคาแพงๆ
C ชนิดนี้ มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นคือ C อิเล็กโตรไลท์(Electrolytic Capacitor) หรือ C กระป๋อง ถึงแม้ C ชนิดนี้จะความผิดพลาดสูง อัตราการรั่วไหลก็สูง แต่ทำไมถึงจำเป็นต้องมีการนำมาใช้ นั่นเพราะเจ้า C อิเล็กโตรไลท์ เป็น C ชนิดเดียวที่มีค่าสูงๆ สูงถึง 1 F(Farad) เลยก็มี
Capacitor For Audio หรือ Audio Grade
เป็น Capacitor ที่ผลิตขึ้นมาเพื่องาน Audio โดยเฉพาะ จะมีสีสรรค์ที่สวยงาม และขนาดที่ใหญ่โตกว่า Capacitor ธรรมดา ที่มีค่าความจุเท่ากัน
C ระดับสูงสุดในวงการเครื่องเสียง ราคาแพง ใช้ Modify สำหรับผู้ที่ชื่อชอบในการอัพเกรด เห็นในเครื่องเสียงราคาแพง บางตัวราคาสูงเป็นหมื่นบาท บางยี่ห้อ มีราคาแพงและหายากมาก
ถ้าจะเปลี่ยน คุ้มมั้ย..!!
คำว่า Modify หรือ DIY ในทางเครื่องเสียง คือการดัดแปลง เปลี่ยนอุปกรณ์ หาอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงกว่า ใส่แทนที่อุปกรณ์ตัวเดิม การ Modify หรือ DIY โดยขาดความรู้ ความเข้าใจ อาจจะทำให้เสียเงินไปไม่คุ้มกับคุณภาพเสียงที่เพิ่มขึ้นมาคับ นัก Modify มือใหม่โดนกันเยอะคับ เพราะคิดกันง่ายๆว่าเปลี่ยนอุปกรณ์มันใหม่หมดทั้งเครื่องก็สิ้นเรื่อง แต่มันไม่จบเท่านั้นคับ Capacitor For Audio แต่ละยี่ห้อ มีบุคลิกของเสียงไม่เหมือนกัน สมมุติว่า เครื่องเสียงเราแหลมเด่นอยู่แล้ว แต่ทุ้มด้อย แต่ดันไปเลือก Capacitor For Audio ที่เด่นแหลมมาใส่ในวงจร แบบนี้เสียเงินฟรี เสียงอาจจะเจี้ยวจ๊าวจนฟังไม่ได้ ช้ำใจแน่นอนคับ หลักการคร่าวๆของการ Modify หรือ DIY ในภาคขยายเสียงแบ่งง่ายๆตามนี้คับ ถ้าแหลมเด่น แต่ทุ้มด้อย ต้องไปเล่นที่ภาคจ่ายไฟ หรือ C Filter คับ แต่ถ้าทุ้มเด่นอยู่แล้ว แต่แหลมไม่ค่อยดี ไม่น่าฟัง อันนี้ต้องเล่นกันในวงจรครับ เช่นการเปลี่ยน C ตัวเล็กๆในวงจรให้มีคุณภาพสูงขึ้น บางตัวที่ไม่มีผลกับเสียงก็ไม่ต้องเปลี่ยน เสียเงินโดยใช่เหตุคับ
รายละเอียดปลีกย่อย จะเขียนให้อ่านกันในบทความต่อๆไป อย่าเพิ่งเบื่อกันซะก่อนนะคับ
**ภาพบางส่วนจาก internet