สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน ถึงแม้ GeForce RTX 5090 กราฟฟิกการ์ดในกลุ่มเกมมิ่งที่แรงที่สุดในปี 2025 จะมีการทำตลาดมาซักพัก แต่ความต้องการของในตลาดและความสามารถในการเสนอขายที่ยังไม่มีความสมดุลกัน เลยจึงเป็นที่มาของราคาสูงและยังคงหายากที่อีกแรมปี NVIDIA GeForce RTX 5090 สถาปัตยกรรม Blackwell ชิปรหัส GB202 มาพร้อมเทคโนโลยี AI มี CUDA Core 21760 คอร์ และ AI 3352 TOPS พร้อมหน่วยความจำ GDDR7 ความจุ 32GB 512 บิต ด้วยเทคโนโลยี Tensor cores รุ่นที่ 5 ประสิทธิภาพ AI สูงสุดด้วย FP4 และ DLSS 4 ขับเคลื่อนด้วย AI ปรับให้เหมาะสม สำหรับ Ray Tracing Cores รุ่นที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเรขาคณิตขนาดใหญ่ ช่วยให้สามารถรันเกมที่ต้องการกราฟิกสูงสุดและครีเอทีฟแอปพลิเคชั่นด้วยความเสถียรและประสิทธิภาพ ที่สามารถตอบสนองการเล่นเกม และ การทำงานได้เป็นอย่างดี แต่วันนี้เราอยู่กับการ์ดจาก ASUS ROG การ์ดจอสายเกมมิ่งตัวจริง การ์ดจอ ROG Astral ได้รับแรงบันดาลใจ จากความกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาลที่ไร้ขีดจำกัด และ ความงดงาม ที่การออกแบบพัดลมใช้สี่ตัว ซึ่งสามารถเพิ่มแรงดันอากาศได้มากถึง 20% ส่งผลให้ประสิทธิภาพความร้อนที่ยอดเยี่ยมลดอุณหภูมิของ GPU ลงอย่างมาก ทำให้สามรถระบายความร้อนได้มีประสิทธิภาพ รองรับการโอเวอร์คล็อกได้อย่างเต็มสูบ มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ไม่เคยมีมาก่อน วันนี้เราอยู่กับ ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition ที่ได้รับความแรงมากกว่ามาตรฐาน เดี๋ยวเราไปดูกับดีกว่า ว่าจะมีอะไรมาให้บ้าง และ แรงแค่ไหน
GeForce RTX5090 | GeForce RTX4090 | GeForce RTX5080 | GeForce RTX4080 | |
Architecture |
Blackwell
|
Ada Lovelace | Blackwell | Ada Lovelace |
Process
|
TSMC 4N | TSMC 4N | TSMC 4N | TSMC 4N |
CUDA Core | 21760 | 16384 | 10752 | 9728 |
Tensor Core (AI) | 650 - Gen 5 | 512 - Gen 4 | 366 - Gen 5 | 304 - Gen 4 |
AI TOPS | 3352 | 1321 | 1801 | 780 |
Ray Tracing Core | 170 - Gen 4 | 128 - Gen 3 | 84 - Gen 4 | 76 - Gen 3 |
GPU Boost Clock | 2047 Mhz | 2520 Mhz | 2617 Mhz | 2505 Mhz |
Memory | 32GB GDDR7 | 24GB GDDR6X | 16GB GDDR7 | 16GB GDDR6X |
Memory Interface | 512 Bit | 384 Bit | 256 Bit | 256 Bit |
Bandwidth
|
1792 GB/s | 1008 GB/s | 960 GB/s | 716.8 GB/s |
TDP | 575w | 450w | 360w | 320w |
Package & Bundled
ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition เป็นกล่องกระดาษแข็ง ธีมีแบบฉบับ ROG ที่ยังคงคุมธีมให้เป็นกราฟฟิกการ์ดชิพ NVIDIA

สายต่อแบบ 12V-2x6 มีพินตัวเมียที่ลึกกว่าเพื่อให้สัมผัส แต่สามารถใช้งานได้ร่วมกับ 12VHPWR ที่แตกต่างจากกล่อง GeForce RTX 5090 Founders Edition
เผื่อใครจะใช้ข้ออ้างซื้อคีย์แคปแถมการ์ดจอ
![]() |
![]() |
คีย์แคป 2.75U หรือ Shift ขวาของคีย์บอร์ดขนาดปกติ
Design & Detail
ด้านหน้ากรอบโลหะ ผสมพลาสติกสีเทาที่มีลวดลายจากสิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล ผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ที่โดยรวมดูลงตัวมาก ให้ความเป็น ROG Astral อย่างเด่นชัด ด้านหน้าที่อัดแน่ เล่นทรงที่เป็นกรอบพัดลม 12 ซม. เด่นชัด โดยพัดลมั้ง 3 ตัว เป็นแบบ Axial-tech ทำให้ได้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนอันยอดเยี่ยม การ์ดมีขนาด 35.7 ซม. x 14.9 ซม. x 76 ซม. (ยาว x สูง x กว้าง) เป็นแบบ 3.8 Slot การ์ดหนักประมาณ 3070 กรัม
การ์ดที่มีความหนา 3.8 Slot ที่น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม
พัดลมตัวที่ 4 แบบ Axial-tech ขนาด 12 ซม. ที่ตัดขอบสีเงินรอบๆพัดลม เป็นตัวหนังสือ ROG
มาถึง Backplate อลูมิเนียมสีเทาดำ ลายที่บ่งบอกความเป็น ASTRAL อย่างเด่นชัด พร้อมพัดลมตัวที่ 4 เพิ่มแรงดันอากาศได้มากถึง 20% ส่งผลให้ประสิทธิภาพความร้อน ลดอุณหภูมิของ GPU ลงอย่างมาก โอเวอร์คล็อกได้อีกด้วย
มีโลโก้ GEFORCE RTX สกรีนเอาไว้ แล้วยังมีโลโก้ REPUBLIC OF GAMER ที่เป็นสีเทา โดยมีเส้นแถบยาวที่ทำหน้าที่ไฟ RGB พร้อมจุดการระบายความร้อนในการทำงาน ที่ครีบที่เป็นสีดำเข้ากับธีมของการ์ด ระยะห่างของครีบระบายความร้อนที่เหมาะสม การเพิ่มพัดลมตัวที่สี่ช่วยให้ครีบระบายความร้อนอัดแน่นมากขึ้น ช่วยเพิ่มศักยภาพในการระบายความร้อน Vapor Chamber ได้รับสิทธิบัตรซึ่งออกแบบ ผนวกฮีทไปท์ทองแดงจำนวน 8 ท่อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายความร้อน การผสมผสานที่ช่วยเพิ่มพื้นผิวสัมผัสและปรับปรุงประสิทธิภาพความร้อนได้มากกว่า 10% MaxContact เป็นเทคนิคการผลิตเฉพาะของ ASUS ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของตัวกระจายความร้อน GPU ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 5% เพื่อประสิทธิภาพความร้อนที่ดีขึ้น แผ่นระบายความร้อน GPU ระดับพรีเมียมจะหลอมละลายเพื่อเติมช่องว่างระหว่าง GPU ระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีการนำความร้อนได้ดีกว่าและกระจายความร้อนได้ดีขึ้น ช่วยให้การ์ดกราฟิกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นภายใต้ภาระงานหนัก
เต้ารับ 12V-2x6 ที่สำหรับการป้อนพลังงานเพิ่ม
จุดต่อ 4 Pin PWM สองหัวช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการติดพัดลมสามารถซิงค์กับการ์ดได้โดยตรงและปรับจูนที่อิงตามอุณหภูมิของ CPU และ GPU ส่งผลให้มีอากาศเข้าและออกมากขึ้นสำหรับงาน 3D ที่การเล่นเกมมที่หนักหน่วง โดยตัวการจะมี Dual Bios โหมดประสิทธิภาพช่วยให้พัดลมหมุนเพื่อให้การ์ดทำงานเย็นตลอดเวลา และโหมดเงียบจะรักษาระดับพลังงานสูงสุดไว้
ภายในใช้ MOSFET 80 แอมป์ที่จ่ายมากกว่ามาตรฐานถึง 35% ให้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ความเสถียร และศักยภาพในการโอเวอร์คล็อกที่สูงขึ้น พร้อม ASUS GPU Guard & Bracket เพื่อรองรับกราฟิกชิฟขนาดใหญ่ ที่ใช้กาวเพื่อยึดทั้งสี่มุมเพื่อลดความเสี่ยงของการแตกร้าว ในขณะที่ตัวยึด GPU ช่วยให้มั่นใจได้ว่าแรงกดในการติดตั้งจะสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยมีการเคลือบ PCB ป้องกันการเคลือบแบบคอนฟอร์มัลป้องกันจะห่อหุ้มแผงวงจรเพื่อช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่เกิดจากความชื้น ฝุ่น หรือเศษวัสดุ สุดท้ายเทคโนโลยี Auto−Extreme กระบวนการผลิตอัตโนมัติที่กำหนดมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมโดยให้บัดกรีได้ทั้งหมดในครั้งเดียว เทคโนโลยี ASUS Auto-Extreme ช่วยลดความเครียดจากความร้อนบนส่วนประกอบและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทำความสะอาดที่รุนแรง ส่งผลให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลง และผลิตภัณฑ์โดยรวมมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
โครงหล่อคุณภาพสูง และ Backplate ช่วยยึด PCB ให้แน่นหนาเพื่อความแข็งแกร่ง
ด้านท้ายการ์ดที่การปล่อยโล่ง เห็นครีบระบายความร้อนเป็นสีดำที่ดูสวยงามดีครับ
การเชื่อมต่อ DisplayPort 2.1a จำนวน 3 พอร์ต และ HDMI 2.1b จำนวน 2 พอร์ต I/O เป็นสเตนเลส 304
แสงสีของตัวการ์ด ที่ไม่มีมากเกินไป ซึ่งถ้าไปปรับใน Armoury Crate จะเป็นไฟสีฟ้าไล่โทน
นอกจากแถบที่สันการ์ด จะมีไฟที่แถบเหนือพัดลมสองจุด
GPU Tweak III ช่วยให้ปรับแต่งการตั้งค่าการโอเวอร์คล็อกได้อย่างง่ายดายเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งรวมถึงโหมดโอเวอร์คล็อก และโหมดปิดเสียง สแกนโอเวอร์คล็อก และตัวปรับความถี่แรงดันไฟสำหรับการปรับแต่งที่แม่นยำ โดยมีเซ็นเซอร์ที่ฝังไว้ทั่วทั้ง VRM โช้ก และ VRAM รวบรวมข้อมูลสำหรับแผนที่ความร้อน ช่วยให้สามารถตรวจสอบอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ในแต่ละที่ และปรับการตั้งค่าระบบได้อย่างง่ายดายเพื่อประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุด มี Power Detector+ สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ทั่วทั้งพินไฟทั้ง 6 พินจากสายเคเบิล 12VHPWR หากตรวจพบข้อผิดพลาด จะได้รับแจ้งทันทีว่าจำเป็นต้องต่อสายไฟใหม่ และ คุณสมบัติ Mileage ติดตามการใช้งานที่ระดับพลังงานที่แตกต่างกัน สามารถจับตาดูว่าคุณใช้โหลดประเภทใดในเซสชันเกมต่างๆ
ข้อมูลของการ์ดที่แจ้งผ่าน GPU-z ถือว่าเกือบครบถ้วนแล้ว สามารถดูในเรื่องการใช้พลังงาน ความร้อนในส่วนต่างๆได้ครบ
ข้อมูลของการ์ดที่แจ้งผ่าน AIDA64 ครบถ้วนแล้ว หลังจากอัพเวอร์ชั้นล่าสุด แจ้งว่าเป็น ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition
การแบ่งความเร็วในการทำงานที่แยกออกเป็นห้าระดับ ความเร็วของ GPU และ Memory ที่ต่างกัน
System Setup
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- CPU : AMD Ryzen 7 9700X
- Memory : Kingston FURY Renegade DDR5 RGB 6800MHz 32GB
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 24H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition ประสิทธิภาพมันย่อมคู่กับซีพียูในระดับเรือธงอย่าง Core i9 14000K ,Core 9 285K ,Ryzen 9 9900X ,Ryzen 9 9950X และ ระดับเรืองธง หรือ HEDT ที่รองรับการ์ดจอ PCIe 5.0 หรือ PCIe 4.0 ก็ได้ครับ ในการทดสอบใช้ซีพียูในระดับเมนสตรีม ที่ยังไม่สามารถเข็นประสิทธิภาพและความแรงของ ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition ได้เต็มพลัง ย่อมคู่ควรกับระบบในระดับ Hi-End ที่แท้ทรู ไม่งั้นประสิทธิภาพที่อาจตกหล่นหายไประหว่างการใช้งานได้
สถาปัตยกรรม Blackwell ของ RTX5090 ถ้ามองที่พลังดิบในด้านเล่นเกม ที่สามารถตอบสนองการเล่นเกมในระดับ 4K ได้อย่างไหลลื่น ซึ่งบางเกมที่เค้าบอกว่าแรงขึ้น แต่ตัวเกมที่ผมใช้ในการทดสอบยังไม่ได้การอัพเดทเวอร์ชั่น ผลที่ออกมาจะเป็นในลักษณ์พลังดิบที่ออกมาดีขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเอาไปเทียบกับ RTX4090 ที่เคยใช้อยู่สามตัว แต่ถ้ามองเกมที่ได้รับพลังเสริม เช่น DLSS ใน RTX5090 เทียบกับ RTX4090 ก็แรงขึ้นนะ แต่ไม่ได้แรงมากจนอยากเปลี่ยนไปใช้ RTX5090 มากนัก ถ้ามองในแง่ดีฟีเจอร์ต่างที่ต้องมีการเรียนรู้ เช่น DLSS ที่ต้องให้เวลาอัพเดท Driver และ เกม ถ้ารองรับ DLSS 4 ที่ประสิทธิภาพจะดีกว่านี้มากๆ ในการเล่นเกมช่วยให้เล่นเกมระดับ 8K ได้แน่นอน หรือ 4K ที่เฟรมเรทสูงๆ ฟีเจอร์และการออกแบบของ RTX5090 มันไม่ใช่การ์ดเล่นเกมเพียว มันคือการ์ดเอาไปใช้ทำงานได้ Tensor cores รุ่นที่ 5 ประสิทธิภาพ AI สูงสุดด้วย FP4 และ Ray Tracing รุ่นที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเรขาคณิตขนาดใหญ่ ช่วยให้สามารถรันเกมที่ต้องการกราฟิกสูงสุดและครีเอทีฟแอปพลิเคชั่นด้วยความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดี ยังมี NVIDIA Studio สามารถสร้างสรรค์ครีเอทีฟโปรเจ็กต์ ที่สำคัญมันยังเอาไปใช้ในการเทรน AI ได้อีกด้วย ซึ่งคาดว่า RTX5090 ย่อมมีความต้องการในตลาดสูง ราคาย่อมสูงมากในช่วงแรกเหมือน RTX4090 คงไม่ใช่ 2000 USD ในราคาเริ่มต้น ถ้ามุ่งเป้าในการเล่นเกมเป็นหลัก RTX5080 มีความน่าสนใจด้วยราคาลงตัวมากกว่า RTX5090 แต่ถ้าเป็นบุคคลระดับสุลต่าน ในปี 2025 การชื้อ NVIDIA GeForce RTX 5090 เพื่อการเล่นเกมล้วนๆ มันไม่เรื่องผิดอะไรเลย
ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition การออกแบบที่มีความเหนือกว่า NVIDIA GeForce RTX 5090 Founders Edition ทางด้านประสิทธิภาพ ต้องบอกเลยมันคือความแรงที่เหนือชั้น ถ้านับกับที่ยุค 2025 มันคงไม่มีใครเด่นมาแซงหน้า ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition ได้ อีกทั้งการออกแบบที่ยังสามารถรองรับการโอเวอร์คล็อกได้อย่างเต็มที่ Hardware ที่ออกแบบมาโหด ถ้าใจกล้าและบ้าพอมันยังสามารถรองรับการโอเวอร์คล็อกแบบ Sub Zero ได้ดีอีกด้วย ถ้ามองที่พลังดิบในด้านเล่นเกม ที่สามารถตอบสนองการเล่นเกมในระดับ 4K ได้อย่างไหลลื่น ถ้าเอาไปเทียบกับ RTX4090 ที่เคยใช้อยู่สามตัว แต่ถ้ามองเกมที่ได้รับพลังเสริม เช่น DLSS ใน RTX5090 เทียบกับ RTX4090 ก็แรงขึ้นนะ ส่วนถ้าเอาไปเทียบกับ RTX3090 เปลี่ยนเป็น ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition แบบไม่ต้องคิดอะไรมากถ้างบประมาณพอ ฟีเจอร์ต่างที่ต้องมีการเรียนรู้ เช่น DLSS ที่ต้องให้เวลาอัพเดท Driver และ เกม ถ้ารองรับ DLSS 4 ที่ประสิทธิภาพจะดีกว่านี้มากๆ ในการเล่นเกมช่วยให้เล่นเกมระดับ 8K ได้แน่นอน หรือ 4K ที่เฟรมเรทสูงๆ ฟีเจอร์และการออกแบบของ RTX5090 มันไม่ใช่การ์ดเล่นเกมเพียว มันคือการ์ดเอาไปใช้ทำงานได้ Tensor cores รุ่นที่ 5 ประสิทธิภาพ AI สูงสุดด้วย FP4 และ Ray Tracing รุ่นที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเรขาคณิตขนาดใหญ่ ช่วยให้สามารถรันเกมที่ต้องการกราฟิกสูงสุดและครีเอทีฟแอปพลิเคชั่นด้วยความเสถียรและประสิทธิภาพที่ดี ยังมี NVIDIA Studio สามารถสร้างสรรค์ครีเอทีฟโปรเจ็กต์ ที่สำคัญมันยังเอาไปใช้ในการเทรน AI ได้อีกด้วย ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition เป็นการ์ดจอไม่ควรพลาดถ้าเป็นเกมเมอร์ระดับสุลต่าน หรือ ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
อีกสิ่งที่ผมประทับใจกับ ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition ในเรื่องการระบายความร้อน ถ้าพูดแบบไม่สนใจไส้ใน ซึ่ง ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition มีการจัดการความร้อนที่ดีกว่า NVIDIA GeForce RTX 5090 FE ไม่มีอาการอมความร้อน ความร้อนไม่ตีเข้าหน้า พัดลมที่รอบการทำงานไม่สูงมาก แต่ ROG Astral GeForce RTX 5090 32GB GDDR7 OC Edition มันมีขนาด 35.7 ซม. x 14.9 ซม. x 76 ซม. (ยาว x สูง x กว้าง) เป็นแบบ 3.8 Slot การ์ดหนักประมาณ 3070 กรัม ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งและความระวังพอสมควร
ความจริงที่โหดร้ายที่สุด ตัวการ์ดใช้พลังงานสูงกว่า NVIDIA GeForce RTX 5090 FE อยู่ระดับนีง ต้องยอมรับความแรงที่เหนือกว่า พัดลมที่มากกว่า และ การออกแบบ PCB ที่ละเอียดกว่า Founders Edition มาก ถึงแม้ในการทดสอบกินไฟประมาณ 761.5 วัตต์ แต่นั้นคือการโหลดที่การ์ดจออย่างเดียว ถ้าซีพียูดึงโหลดหนัก รวมไปถึงในการทดสอบไม่อาจไม่ได้ใช่พลังงานถึงที่สุด การใช้พาวเวอร์ซัพพลายในระดับ 1000-2000 วัตต์ ขึ้นกับสเปกและของที่ใช้ภายในเครื่องด้วย วันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.